วช. สร้างชื่อ นำนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย คว้ารางวัลระดับนานาชาติจากงาน iENA 2022 สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ...
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทยจาก 10 หน่วยงาน คว้ารางวัลจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จากงาน “ The International Trade Fair – Ideas, Inventions and New Products ” (iENA 2022) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 30 ตุลาคม 2565 ณ เมืองนูเรมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. ปีนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย รับเหรียญรางวัลจาก iENA2022 มีดังนี้.. 1) รางวัลเหรียญทอง 10 ผลงาน ได้แก่ ผลงานเรื่อง “ เตียงปรับระดับอัตโนมัติระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก ” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผลงานเรื่อง “ อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทารกขณะส่องไฟรักษา ” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผลงานเรื่อง “ อุปกรณ์ป้องกันดวงตาทารกขณะส่องไฟรักษา ” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ผลงานเรื่อง “ เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, ผลงานเรื่อง “ ลูกอมเม็ดนิ่ม [6]-จินเจอรอล สำหรับแก้เมารถเมาเรือ ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.เภสัชกร ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ผลงานเรื่อง “ นวัตกรรมเครื่องกำจัดวัชพืชลอยน้ำแบบบดละเอียดสู่การใช้ประโยชน์ทางการเกษตรของชุมชน ” ของ นายนพวัฒน์ พักใส และคณะ แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ผลงานเรื่อง “ หุ่นยนต์อเนกประสงค์เพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง ” ของ ดร.ธงชัย ดิษยเดช และคณะ แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, ผลงานเรื่อง “ อุปกรณ์สลับแหล่งจ่ายแรงดันอัตโนมัติ ” ของ นายจิรเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ผลงานเรื่อง “ ชุดเกียร์อเนกประสงค์ ของ นายสรายุทธ พุฒทองหลาง และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, ผลงานเรื่อง “ P-MAC: เครื่องมือตรวจสอบมิเตอร์และ ซี.ที. แรงต่ำ ” ของ นายทรงศักดิ์ พิกุลทอง และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ ผลงานเรื่อง “ หมุนสลายคราบ ” ของ นายสิทธิเดช เอียดสี และคณะ แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
2) เหรียญเงิน 13 ผลงาน และ 3) เหรียญทองแดง 6 ผลงาน และเป็นที่น่ายินดีที่นักประดิษฐ์และนักวิจัยไทย สามารถคว้า Special Prize ที่มีการมอบรางวัลบนเวทีอีก 5 ผลงาน ได้แก่ รางวัล iENA Fairmanagement จากผลงานเรื่อง “ เตียงปรับระดับอัตโนมัติระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับทารกหรือเด็กเล็ก ” ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุภาวดี ทับกล่ำ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, รางวัล IFIA for the Best Green Innovation จากผลงานเรื่อง “ UNC CALCIUM ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมแคลเซียม MCHC สกัดจากธรรมชาติ 100% ” ของ ดร.เกยูร โชคล้ำเลิศ แห่ง หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย, รางวัล Korea Invention Promotion Association สาธารณรัฐเกาหลี จากผลงานเรื่อง “ P-MAC : เครื่องมือตรวจสอบมิเตอร์และ ซี.ที. แรงต่ำ ” ของ นายทรงศักดิ์ พิกุลทอง แห่ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, รางวัล Association of Polish Inventors and Rationalizers สาธารณรัฐโปแลนด์ จากผลงานเรื่อง “ เครื่องคัดกรองประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนแบบพกพาด้วยแสงความยาวคลื่นช่วงใกล้อินฟราเรดเพิ่มประสิทธิภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ และคณะ แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, รางวัล Association of European Inventors ผลงานเรื่อง “ ฟิล์มคลุมดินย่อยสลายได้ผสมอนุภาคนาโนหลายหน้าที่ป้องกันและควบคุมโรครากเน่าและแมลงศัตรูพืชในดิน ” ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เวที “ The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products ” จัดขึ้นเป็นปีที่ 74 เป็นเวทีการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติที่สำคัญในสหภาพยุโรป โดยมีนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากทั่วโลกนำผลงานเข้าประกวดและจัดแสดงกว่า 500 ผลงาน จากกว่า 20 ประเทศ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 10,000 คน
สำหรับหน่วยงานจากประเทศไทยที่ร่วมคว้ารางวัลในงาน “ The International Trade Fair-Ideas, Inventions and New Products ” (iENA 2022) มีจำนวน 10 หน่วยงาน ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย, เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยทักษิณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, หอการค้าไทยและสภาหอการค้าไทย, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การประปานครหลวง, ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ, สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
โดยผลงานจากประเทศไทยที่ วช. นำเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ เป็นผลงานที่ผ่านการพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการกลั่นกรองในเกณฑ์ที่ให้ความสำคัญ ได้แก่ มาตรฐานของผลงานประดิษฐ์คิดค้นและผลงานวิจัย ความพร้อมในการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ ผลงานที่มีกระบวนการยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้ง ผลงานที่ได้รับรางวัลในเวทีระดับประเทศ อาทิ รางวัลการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น