บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2023

วิศวฯ จุฬาฯ ร่วมกับ สถานีวิทยุจุฬาฯ จัดโครงการ “ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 ” Decode the Pipeline : Electrify the future รวมพลังคิด(ส์) ฝ่าวิกฤตพลังงาน ...

รูปภาพ
ที่บริเวณลานกิจกรรม ชั้น 4 โซน D ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ / เมื่อเวลา 15.30 น. วานนี้ (31 พฤษภาคม 2566) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย จัดงานแถลงข่าวโครงการ Envi Mission ภารกิจรักษ์สิ่งแวดล้อม ปีที่ 4 ภายใต้หัวข้อ “ Decode the Pipeline : Electrify the future  รวมพลังคิด(ส์)ฝ่าวิกฤตพลังงาน ” โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศาสตราจารย์ ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวเปิดงาน นางสาวศตกมล วรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือครั้งนี้ว่า.. ศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสนับสนุนพื้นที่จัดกิจกรรมทางการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สถานีวิทยุแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคมและสิ่งแวดล้อมอ

ม.เกษตร จับมือภาคีเครือข่ายร่วมยกระดับ “ ทุเรียนน้ำแร่ ” โนนสุวรรณ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมระดับครัวเรือน ...

รูปภาพ
“ ทุเรียนน้ำแร่ ” โนนสุวรรณ ทุเรียนที่ดูดซับน้ำแร่ใต้ดินธรรมขาติ จากแดนดินถิ่นภูเขาไฟภาคอีสาน จึงได้รสชาติที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น มีเอกลักษณ์เฉพาะ คือ กลิ่นไม่แรง รสชาติหวานมัน กรอบนอกนุ่มใน  เนื้อนุ่มละมุนเหมือนคัสตาร์ด เป็นทุเรียนที่เกษตรกรเจ้าของสวนบอกว่าใครได้ลองลิ้มชิมรสจะติดใจ 100% ด้วยความเป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เฉพาะพื้นที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จึงร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้งภายใน และนอกมหาวิทยาลัย สนับสนุนองค์ความรู้ ด้านการปลูก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการตลาด ในรูปแบบของการส่งเสริมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมให้กับชุมชน เกษตรกรให้สามารถยกระดับ “ทุเรียนน้ำแร่” จาก อ.โนนสุวรรณ จ.บุรีรัมย์ ผลักดันเป็นผลิตภัณฑ์ไม้ผลชุมชนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมระดับครัวเรือน  30 พ.ค.66 :  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย คณะทำงานโครงการนวัตกรรมยกระดับไม้ผลคุณภาพและผลิตภัณฑ์จากไม้ผล ร่วมกับ สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม และภาคีเครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม  สำนักงานสหกรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ สหกรณ์การเกษตรโนนสุวรรณ จำกัด วิสาหกิจชุมชน พืชผักผลไม้ สายน้ำแร่ แดนดินถิ่นภูเขา

วช. หนุนทีมวิจัย ม.อ. พัฒนาศักยภาพการกักเก็บข้อมูลคาร์บอน ของป่าชายเลนและหญ้าทะเลตามธรรมชาติและปลูกบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน ...

รูปภาพ
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ให้การสนับสนุนทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และมหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) ร่วมกับ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในการประเมินศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นในบริเวณภาคใต้ฝั่งอันดามัน และจัดกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้แก่ชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในการดูแลและฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนและพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มภูมิสารสนเทศและปัญญาประดิษฐ์ ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนพร้อมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกิดเครือข่ายอนุรักษ์พัฒนาสิ่งแวดล้อมชายฝั่งอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม นำมาซึ่งองค์ความรู้และบทความทางวิชาการเรื่องศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าชายเลนและหญ้าทะเลของพื้นที่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งอันดามัน ในการสร้างนักวิจัยชุมชนสร้างผลกระทบในวงกว้างในการสร้างการมีส่วนร่วมและจิตสำนึกในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยบรรเทาและชะลอการเปลี