วช. ต่อยอด งานหัตถกรรมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นสะท้อนวิถีชีวิตบ้านสันกอง หนุนสร้างรายได้ชุมชนใน จ.เชียงราย ...

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2566 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ พร้อมด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและชมนิทรรศการกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม “ โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ ปีที่ 2 ” (KOYORI Project) โดยมี ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา แห่ง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นหัวหน้าโครงการฯ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย








“ โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์หัตถกรรมชุมชนในภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์และทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรท้องถิ่นสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและการเพิ่มประสิทธิภาพห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์ ปีที่ 2 ” (KOYORI Project) วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่ ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และคณะในการดำเนินการนำ KOYORI Project มาช่วยในการพัฒนาทักษะ องค์ความรู้ และเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากรและผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมืองที่มีความแตกต่างและโดดเด่นที่ตรงกับความต้องการของตลาดในยุคชีวิตวิถีใหม่โดยใช้นวัตกรรมและวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารกิจการของกลุ่มหัตถกรรมพื้นเมืองเพื่อยกระดับของห่วงโซ่มูลค่าของผลิตภัณฑ์หัตถกรรมพื้นเมือง อีกทั้งสนับสนุนให้ผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองนำแนวคิด BCG model มาประยุกต์ใช้ในกิจการของตนเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระบวนการและเทคโนโลยีที่ใส่ใจผลกระทบที่จะเกิดกับสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับเทรนด์ของโลก 









สำหรับนิทรรศการที่นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ มีทั้งหมด 5 นิทรรศการ ได้แก่ 1. นิทรรศการกลุ่มผ้าปักนิธิ โดยผ้าปักลายนิธิเป็นผ้าพื้นเมืองของบ้านสันกอง อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ทางกลุ่มฯ ได้เลือกลวดลายดั้งเดิม ลายอาข่าและลายปักวิถีชีวิต ธรรมชาติ มาเป็นแรงบันดาลใจ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ดั้งเดิม 2. นิทรรศการสุขสุข…ดิบดิบ คือการทำงานด้วยความสุขกับงานที่มีความดิบ ความเป็นธรรมชาติแท้ๆ ของหนังวัวและขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน เน้นความเป็นธรรมชาติของหนังวัว เพื่อคงเอกลักษณ์ความงามของหนังวัวแท้เอาไว้ให้ได้มากที่สุด 3. นิทรรศการจากร้านกำกึ้ดพิรุณ เป็นผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมของครูช่าง เป็นการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่มีในพื้นที่ เช่น ลูกประคําดีควาย ไม้ไผ่สีสุก ไม้จั๋งลูกหมาก ลูกเดือย เป็นต้น โดยนำวัสดุมาใช้ให้คุ้มค่าและเพิ่มมูลค่าด้วยการใช้งานฝีมือมาแปรรูปให้เกิดรูปทรงต่างๆ 4. นิทรรรศการจากร้าน Nine shop 99 โดยนำศิลปะมาผสมผสานกับการออกแบบให้เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์และลวดลายการวาดตัวการ์ตูนด้วยมือของครูช่าง ที่ใช้เป็นตัวบอกเล่าแรงบันดาลใจในการสร้างผลงานแต่ละชิ้นให้แตกต่าง มีเพียงชิ้นเดียว สร้างผลงานที่เพิ่มมูลค่าให้กับวัสดุเหลือใช้ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ตามแนวคิด " The Art You Can Touch " ทำให้เกิดเป็นสินค้าที่แตกต่าง โดดเด่น มีเอกลักษณ์ ตามสไตล์ของการวาดด้วยมือ และ 5. นิทรรศการ NK เป่าแก้ว งานอาร์ตสุดมหัศจรรย์ เหมาะแก่การนำไปถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ ให้เป็นของขวัญ ของชำร่วย เมื่อมีงานมงคลต่างๆ ที่ทั้งประณีต และมีคุณค่าทางจิตใจอย่างมากอีกด้วย ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“ ศิลปินนักพันผ้า ” หนึ่งเดียวในไทย “ โสภาส ณ ตะกั่วทุ่ง ” ผู้คิดค้นวิธีรักษาผืนผ้าไหมไทยทั้งผืนเอาไว้เพื่อคนรุ่นหลัง ...

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...