วว. จัดอบรมขยายชีวภัณฑ์รูปแบบเชื้อเหลวให้แก่วิสาหกิจชุมชนกล้วยทองสกลนครโมเดล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ...

เมื่อวันที่ 27  พฤศจิกายน 2565 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ภายใต้การดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นำโดย ดร.ตันติมา   กำลัง  นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) พร้อมคณะนักวิจัย  จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การขยายชีวภัณฑ์รูปแบบเชื้อเหลวด้วยถังหมักอย่างง่ายด้วยโมเดล วว.  กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง “ การใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงในระบบ ” และ “ การขยายชีวภัณฑ์รูปแบบเหลวในถังขยายจุลินทรีย์ ” ให้กับวิสาหกิจชุมชนกล้วยทองสกลนครโมเดล อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร จำนวน 50 ราย  พร้อมมอบถังขยายชีวภัณฑ์ วว. ให้ทางกลุ่มเพื่อนำไปผลิตชีวภัณฑ์ในระบบกระบวนการปลูก 



ทั้งนี้ วว. มีความเชี่ยวชาญและจุดแข็งด้านชีวภัณฑ์ คือ มีโครงสร้างพื้นฐานโรงงาน  ICPIM 2 ที่มีศักยภาพตอบโจทย์ให้กับภาคอุตสาหกรรมของไทย ในการให้บริการครบวงจรทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ใหม่ๆ ในระดับห้องปฏิบัติการ และทดสอบกระบวนการผลิต ขยายจุลินทรีย์ในระดับกึ่งอุตสาหกรรม  นอกจากนี้ยังมีการวิจัยพัฒนาถังหมักระดับชุมชน ในรูปแบบถังสแตนเลสและถังพลาสติก ที่สามารถตอบโจทย์เกษตรกร ผู้ประกอบการ ในการขยายชีวภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐานให้เพียงพอกับการใช้ประโยชน์ด้านเกษตรกรรม 




อนึ่ง โครงการสกลนครโมเดล เป็นการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฏร และได้รับงบประมาณจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)  ให้เป็นโครงการต้นแบบการสร้างนวัตกรรมชุมชนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นการพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมครัวเรือน เพื่อเพิ่มการผลิตและรายได้ให้กับประชากรในพื้นที่ โดยเริ่มดำเนินโครงการในเขตอำเภอวานรนิวาส และอำเภอบ้านม่วง จำนวน 140 ครัวเรือน ในปี 2564-2565  พบว่าโครงการสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรม สามารถเป็นต้นแบบให้กับประเทศได้ ปัจจุบันได้ขยายผลอย่างเร่งด่วนไปในพื้นที่อื่นๆ ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัดสกลนคร เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการแข่งขัน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เสมอภาคตามเป้าหมายการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ( พ.ศ.2560 – พ.ศ.2579) ต่อไป ...

สอบถามรายละเอียดการจัดอบรม / ข้อมูล รวมทั้งขอรับบริการเกี่ยวกับชีวภัณฑ์  ได้ที่   ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์   วว.  โทร. 0 2577  9016, 02-577 9021   โทรสาร 0 2577  9009   E-mail : icpim2@tistr.or.th 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...

3 หน่วยงาน ขานรับนโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) อย่างมีระบบ ...