เครือข่ายผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงภาคประชาชน หารือ ประธาน กมธ.การกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เรื่อง คลื่นที่หายไป ...
ที่ ห้องประชุม CB 403 อาคารรัฐสภา / เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 4 มกราคม 2567 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนวิทยุทีวีเสรี นำโดย นายคณาวุฒิ กันทพลหาญ ประธานองค์กรฯ, นายคณาโชค ตามจิตเจริญ รักษาการนายกสมาคมสภาผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงไทย,, น.ส.จณิสตา วัฒนะมโน ประธานชมรมวิทยุกระจายเสียงไทย, นายชูชาติ อุทัยชิต นายกสมาคมสื่อเมืองพระร่วง สุโขทัย, น.ส.พรณิภา เหรียญทอง ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงจังหวัดราชบุรี, นายพัฒนกฤษ พ่วงทอง นายกสมาคมสถานีวิทยุและโทรทัศน์จังหวัราชบุรี, นายธนพล ทองดอนพัว รองนายกฯ, นายธนกฤต อยู่ม่วง ผู้อำนวยการสถานีเรสซิเดันเรดิโอ, นายสมชาย หลวงหละ ประธานเตรือข่ายศูนย์เรียนรู้จังหวัราชบุรี, นายธนัท ประสานวงศ์ นายกสมาคมวิทยุจังหวัดสุพรรณบุรี, นายสุระพล รวีวงศ์ ผู้ประกอบการวิทยุกระจายเสียงจังหวัดสมุทรสาคร, นายวรพจน์ ลัภโตประธานเครือข่ายชมรมผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง, น.ส.พวันนา สุธน (สาวซา) ผู้ประกอบการกิจการวิทยุจังหวัดร้อยเอ็ด เข้าพบ นายกมลศักดิ์ ลีวะเมาะ ประธาน คณะ กรรมาธิการ กฎหมาย การยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน, สส.สาเหะมูมามัด อิลอิดรุส, สส.อับดุลอายี สาแม็ง, สส.สุไลมาน บือแนปีแน เพื่อปรึกษาหารือ เรื่องร่างประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เรื่อง แผนความถี่วิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม (คลื่นที่หายไป) โดยการประสานจาก อ.ราตรี สุทธิสารากร อดีตผู้สมัครบัญชีรายชื่อพรรคประชาชาติ/อดีตกรรมาธิการวิสามัญแก้ไข พรบ. กสทช. สภาผู้แทนราษฏร
โดย องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนวิทยุทีวีเสรี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 เพื่อเป็นศูนย์รวมของสมาชิกในอดีตและปัจจุบันของสมาชิกผู้ประกอบกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลทีวี ต้องการเสริมสร้างความรัก สามัคคี รวบรวมบุคลากรที่ทรงคุณวุฒิ เพื่อร่วมกันทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวมทั้งปกป้อง ผู้ประกอบกิจการสื่อ จากการออกกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบวิชาชีพในอุตสาหกรรมสื่อทุกแขนง
ในที่ประชุม นายกมลศักดิ์ ลีวะเมาะ ประธานกรรมาธิการ กฎหมาย การยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน กล่าวว่า.. วิทยุกระจายเสียงท้องถิ่น เป็นสื่อที่สร้างสรรค์สังคม บอกข่าวสารให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับข่าวสารความบันเทิง ถือว่าเป็นเรื่องดี จึงจะรีบดำการเนินเรื่องความเดือดร้อนของผู้ประกอบการให้เร็วที่สุด ในเรื่องของคลื่นความถี่ที่หายไปจะเรียกทั้ง กสทช.และผู้ประกอบการมาชี้แจงที่มาที่ไป ประธานกล่าวในท้ายสุด
นายคณาวุฒิ กันทพลหาญ ประธานองค์กรสื่อฯ กล่าวว่า.. ในอดีตผู้ประกอบวิชาสื่อวิทยุต้องไปซื้อเวลาเพื่อมาจัดรายการจากคลื่นวิทยุหลักซึ่งเป็นกิจการของรัฐที่ให้เอกชนมาสัมปทาน โดยต้องซื้อในราคาที่แพงทำให้การเข้าถึงสื่อวิทยุที่ใช้ประกอบวิชาชีพมีราคาสูงเข้าไม่ถึง เมื่อมี การอนุญาตให้ภาคประชาชน สามารถจัดตั้งสถานีวิทยุได้ตามรัฐธรรนูญ ปี 40 ที่เปลี่ยนคำว่า คลื่นความถึ่เป็นของรัฐ มาเป็นคลื่นความถี่ของชาติ ภาคประชาชนจึงมีโอกาสเข้าถึงสื่อ และชุมชนก็ได้ประโยชน์จากการได้โฆษณากิจการร้านค้าของตนเองในราคาที่ถูกลง
นายชูชาติ นายสมาคมสื่อฯ กล่าวว่า.. อยากให้ กสทช. มาชี้แจงว่าใช้หลักเกณฑ์ใดมากำหนดว่าจังหวัดใดมีคลื่นนี้ จังหวัดใดไม่มีคลื่นนี้
นายพัฒนฤกษ นายกสมาคมฯวิทยุจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า.. สื่อวิทยุ มีแต่สร้างสิ่งดีดีให้แก่สังคม ชุมชน
นายคณาโชค รักษาการนายกสภาผู้ประกอบการฯ กล่าวว่า.. ร่างประกาศของ กสทช. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 60 มาตรา 26 และ มาตรา 60 จึงควรจัดทำประกาศแผนความถี่วิทยุเอฟเอ็ม ให้ตรงกับความเป็นจริงที่มีผู้ประกอบการสื่อวิทยุในพื้นที่ท้องถิ่นนั้นอยู่จริง
นายสุรพล รวีวงศ์ กล่าวว่า.. ที่จังหวัดสมุทรสาคร ทางภาครัฐก็ได้ใช้สื่อวิทยุท้องถิ่นประกาศข่าวสารสาระให้แก่สังคม ชุมชน โดยทางสถานีมิได้คิดค่าใช้จ่ายใดกับหน่วยงานนั้น เพราะเป็นบริการเพื่อชุมชน และสังคม
นายธนพล รองนายสมาคสื่อฯ ราชบุรี กล่าวว่า.. ร่างประกาศไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบกิจการดังนั้นควรจะต้องนำมาพิจารณาให้ครอบครบก่อนประกาศใช้
ในช่วงท้าย นายกมลศักดิ์ ประธานกรรมาธิการฯ กล่าวว่า.. จะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของการจัดทำแผนความถี่กระจายเสียงวิทยุเอฟเอ็ม เช่น กสทช. มาชี้แจง พร้อมผู้ประกิจการวิทยุกระจายเสียงที่คณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และ สิทธิมนุษยชน ในเร็วๆ นี้ ต่อไป ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น