วช. - สอศ. ติดดาว 17 ผลงานเด่น สิ่งประดิษฐ์สายอาชีวศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ ในกิจกรรมบ่มเพาะ ปี 66 ...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดพิธีปิดกิจกรรม “ บ่มเพาะผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์ Training for Invention Manager : IM สายอาชีวศึกษา ประจำปี 2566 ” และพิธีมอบเกียรติบัตรผลงานติดดาวผลงานเด่นอาชีวศึกษา จำนวน 17 ผลงาน โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีปิดกิจกรรมฯ และมอบรางวัลฯ ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น กรุงเทพฯ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. วช. ภายใต้กระทรวง อว. ได้ร่วม สอศ. จัด กิจกรรมบ่มเพาะ ผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์ Training for Invention Manager: IM สายอาชีวศึกษา ประจําปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 - 23 สิงหาคม 2566 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้นส์ กรุงเทพฯ ได้รับความสนใจและมีสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาจะเป็นประโยชน์แก่บุคลากรของสายอาชีวศึกษาทั้งคณาจารย์และนักศึกษา ที่ร่วมกันเรียนรู้จากการบ่มเพาะจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านในที่นี้ตลอด 3 วันที่ผ่านมาอย่างเข้มแข็ง อีกทั้งเป็นการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้สามารถร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นและแรงบันดาลใจที่จะนำพลังของคนอาชีวะ ไปเพิ่มประสิทธิภาพของงานสิ่งประดิษฐ์ที่รองรับความต้องการของชุมชน สังคม และประเทศในอนาคตได้อย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป



รางวัลติดดาวของทีมอาชีวศึกษาที่มีผลงานและการนำเสนอได้อย่างโดดเด่น เป็นต้นแบบการพัฒนาและการต่อยอดเป็นประดิษฐกรรมและนวัตกรรม สำหรับการส่งเสริมให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานตามทิศทางวิจัยและนวัตกรรม จำนวน 17 ผลงาน ใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่.. 

ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ได้แก่.. ผลงานเรื่อง “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารเคลือบด้วย การสกัดสารแทนนินจากมะขามป้อม ” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาธนบุรี, ผลงานเรื่อง “ เครื่องวินิจฉัยศัตรูพืชทุเรียนอัตโนมัติ ผ่านระบบ Line official โดยใช้เทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ ” โดย วิทยาลัยเทคนิคชุมพร, ผลงานเรื่อง “ เครื่องคัดแยกเมล็ดข้าวสารเพื่อวิสาหกิจ ชุมชน ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์






ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่.. ผลงานเรื่อง “ อุปกรณ์ช่วยลงน้ําหนักสําหรับผู้ป่วยขาหัก ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ, ผลงานเรื่อง “ เครื่องฆ่าเชื้อเสมหะผู้ป่วยวัณโรค ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว, ผลงานเรื่อง “ เครื่องวัดแรงเหยียดขาและแรงเหยียดหลัง เพื่อคนไทย ” โดย วิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล, ผลงานเรื่อง “ แว๊กซ์กําจัดขนอโลเวร่าพลัส ” โดย วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง, 

ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และอุปกรณ์อัจฉริยะ ได้แก่.. ผลงานเรื่อง “ แอปพลิเคชันเกมรูปแบบเทคโนโลยี เสมือนจริงแบบติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์พกพา เพื่อพัฒนาสมรรถนะการตอบสนองและ การเคลื่อนไหว สําหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน “ ผู้พิทักษ์แห่งวัชรี ” ” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี, ผลงานเรื่อง “ คอนโดจิ้งหรีดอัจฉริยะ ” โดย วิทยาลัยการอาชีพสอง, ผลงานเรื่อง “ ศรีวรการ แอคเคาท์สูท ” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีวรการ




ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model ได้แก่.. ผลงานเรื่อง “ เครื่องกลั่นสุราพื้นบ้านแบบเติมน้ําหมัก ระบบกึ่งอัตโนมัติ ” โดย วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี, ผลงานเรื่อง “ ตู้อบรังไหมด้วยความร้อนจากเชื้อเพลิง ชีวมวลระบบไหลเวียนไอร้อนย้อนกลับ ด้วยพลังงานจากแผ่นเพลเทียร์ (Peltier) ” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาอํานาจเจริญ, ผลงานเรื่อง “ กล่องสะสมพลังงานสําหรับใช้ในยาม ฉุกเฉิน ” โดย วิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก อีเทค

ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้แก่.. ผลงานเรื่อง “ เครื่องกลั่นน้ํามันหอมสมุนไพร ” โดย วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา, ผลงานเรื่อง “ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุ่นตกปลาจาก ส่วนเหลือทิ้งลําต้นมันสําปะหลัง ” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่, ผลงานเรื่อง “ ขนมหม้อแกงถั่วขาวไข่แดงเค็ม ” โดย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี, ผลงานเรื่อง “ อุปกรณ์ล็อคประตูแบบพกพา ” โดย วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี

นอกจากนี้ คณะผู้ทรงคุณวุฒิของ วช. ที่ร่วมเป็นวิทยากรในการบ่มเพาะบุคลากรสายอาชีวศึกษา ได้ร่วมมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะทุกสถาบันการศึกษา ที่ร่วมเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสมรรถนะในครั้งนี้ด้วย




สำหรับ กิจกรรมบ่มเพาะ ผู้จัดการโครงการสิ่งประดิษฐ์ Training for Invention Manager: IM สายอาชีวศึกษา ประจําปี 2566 วช. ได้ร่วมกับ สอศ. จัดขึ้นเพื่อร่วมกันวางกลไกและจัดทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและบุคลากรขอสถาบันการศึกษาได้พัฒนาศักยภาพบุคลากร ให้มีทักษะและคุณลักษณะที่สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลก สามารถสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับประเทศได้ ซึ่งจัดกิจกรรมในรูปแบบการบ่มเพาะให้ความรู้และเทคนิคแนวการคิดในระยะเวลา 3 วัน โดยนักเรียน นักศึกษา จากสถาบันอาชีวศึกษาที่เข้ารับการอบรม จะนำเอกสารเชิงแนวคิด หรือ Concept Paper มาให้ผู้ทรงคุณวุฒิและคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะและคำแนะนำ เพื่อนำไปปรับปรุงและเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’