วช. ชูน้อง สายอาชีวศึกษา เป็นนักคิดนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมพร้อมใช้งานได้จริง ...

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ดร.วิภารัตน์  ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานมอบรางวัลและปิดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสายอาชีวศึกษา Smart Invention & Innovation ภาคเหนือ ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-23 มิถุนายน 2656 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่  


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. จากการที่ วช. และ ศอศ. ได้ร่วมมือจัดกิจกรรมการบ่มเพาะเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม สายอาชีวศึกษา Smart Invention & Innovation ภาคเหนือ ปรากฏว่าได้รับความสนใจ มีอาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันการอาชีวศึกษาทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 37 สถาบัน มีผู้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 227 คน  จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกันทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานจากการเข้าร่่วมกิจกรรม workshop ในช่วง 3 วันที่ผ่านมา ทำให้ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมตามกลุ่มเรื่องที่ผู้จัดได้กำหนดไว้  ซึ่งหลังจากที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอแนวคิดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีความโดดเด่นใน 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่ การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร  การสาธารณสุข สุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ  การพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และอุปกรณ์อัจฉริยะ  ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model  ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์  วช. เชื่อว่า จะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทักษะและเทคนิคด้านการประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมให้กับนักศึกษาและคณาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถร่วมกันพัฒนางานประดิษฐ์คิดค้นที่รองรับความต้องการของชุมชนและสังคม ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป




















สำหรับผลงานที่ได้รับรางวัลในปีนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 18 รางวัล  แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือรางวัลระดับ 5 ดาว มี 4 รางวัล ได้แก่คือ 1) อุปกรณ์สางใบอ้อยและตัดต้นอ้อยเพื่อเกษตรรายย่อย จากวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย  2) เครื่องช่วยฟังสำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยเทคนิคการนำเสียงผ่านกระดูก จากวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ 3) สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศแบบบูรณาการ จากวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่  4) การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเบญจรงค์ บ้านพงกะชี อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์   ผลงานที่ได้รับรางวัลระดับ 4 ดาว มี 8 รางวัล คือ 1) เครื่องคัดแยกเมล็ดแตงโมแบบแยกน้ำเพื่อเอาเมล็ด จากวิทยาลัยการอาชีพแจ้ห่ม 2) น้ำพริกผัดรากบัว จากวิทยาลัยเทคนิคตาก 3) แอปพลิเคชันจัดการเอกสารในงานมิเตอร์ของการไฟฟ้า จากวิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย 4) การประยุกต์ใช้  Arduino นับจำนวนรถยนต์เข้า-ออก โดยอัตโนมัติ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีเมโทร  5) ระบบแผงโซล่าเซลล์หมุนตามแสงอาทิตย์ควบคุมโดยระบบแบบ MPPT เพื่อใช้กับภาคการเกษตร  จากวิทยาลัยเทคนิคลำปาง  6) บรรจุภัณฑ์ชีวภาพ จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุตรดิตถ์  7) สถานีชาร์จรถสำหรับมอเตอร์ไซด์ไฟฟ้าโซล่าเซลล์  จากวิทยาลัยการอาชีพศรีสัชนาลัย  8) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชายาไข่เค็มมรกตเพิ่มมูลค่าสินค้าเป็นอาชีพในท้องถิ่น  จากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่  สำหรับรางวัลระดับ 3 ดาว มี 6 รางวัล คือ  1) เปรี้ยวปาก น้ำปลาหวานเนื้อแยม จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จังหวัดเชียงใหม่  2) มาดามหม่อง  จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จังหวัดเชียงใหม่  3) หุ่นยนต์ฉีดพ่นแอลกอฮอล์และวัดอุณหภูมิ  จากวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก  4) ข้าวแต๋นผักเชียงดา จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่  5) เครื่องสร้างลวดลายบนแผ่นไม้ด้วยไฟฟ้า  จากวิทยาลัยการอาชีพป่าซาง  6) Mofee รถกาแฟรักษ์โลก  จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ จังหวัดเชียงใหม่ ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...