การประชุมนานาชาติ THA2022 เผยการบริหารจัดการน้ำใต้ดินในอนาคต ภายใต้การพัฒนาอย่างยั่งยืน ...
ในการจัดการประชุมนานาชาติในหัวข้อ “ THA 2022 International Conference on Moving Towards a Sustainable Water and Climate Change Management After COVID-19 ” เปิดเผยการบรารจัดการน้ำใต้ดินในอนาคตมุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Dr. Hans Thulstrup จาก UNESCO อธิบายการพัฒนามนุษยชาติที่ผ่านมา เกี่ยวโยงกับการพัฒนาน้ำใต้ดินมาใช้ ขณะเดียวกับก็มักเป็นมูลเหตุของการขัดแย้งด้านทรัพยากรระหว่างประเทศมาตลอด การขยายตัวของประชากรและเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้น ก่อปัญหาของการแทรกตัวของน้ำเค็ม (เช่น กรุงเทพฯ จาร์กาต้า ฯลฯ) และการปนเปื้อนด้วยสารอารเซนิก (เช่น บังคลาเทศ ฯลฯ) ซึ่งกระทบต่อความมั่งคงด้านน้ำทั้งในระดับพื้นที่และภูมิภาค แนวทางการแก้ไข (ตามเกณฑ์ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติในข้อ 6.5) เน้นการจัดการน้ำแบบบูรณการ (IWRM) และการจัดการข้ามพรมแดน (Transboundary) ซึ่งหลายพื้นที่ในโลก มีแม่น้ำ ลุ่มน้ำ และแอ่งน้ำที่อยู่ข้ามประเทศ จึงจำเป็นต้องพัฒนากรอบการจัดการ ทั้งด้านกฎหมาย และองค์กรแก้ไขปัญหาทรัพยากร ซึ่งในอนาคต ปัญหาน้ำบาดาลในภูมิภาคเอเซีย ยังมีเรื่องการปนเปื้อนของมลพิษ การจัดการน้ำใต้ดินภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอีก (เช่นที่เดนมาร์ก ซึ่งมีการใช้น้ำใต้ดินมากถึง 80 % ของการใช้นำทั้งประเทศ) ตามที่ทางภูมิภาคในยุโรปประสบอยู่
ด้าน Prof. Yonghui Yang จากประเทศจีน ได้บรรยายเกี่ยวกับการใช้น้ำใต้ดินมากในพื้นที่ราบจีนตอนเหนีอเพื่อการเกษตร จนทำให้ระดับน้ำใต้ดินลดลง และมีการปนเปื้อนของสารเคมีเพิ่มขี้น ถึงแม้ประสิทธิภาพการใช้น้ำจะสูงขึ้น และทางการได้พยายามเข้าควบคุมการใช้น้ำบาดาล แต่ก็ได้อยู่ระดับหนึ่ง แต่ภายหลังมีโครงการผันน้ำจากภาคใต้สู่ภาคเหนือ ทำให้เกิดการใช้น้ำร่วมในภาคเกษตร การควบคุมพื้นที่เกษตรได้ดีขื้น ส่งผลให้ระดับน้ำใต้ดินเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยอาศัยภาพถ่ายดาวเทียมและการติดตามระดับน้ำใต้ดินมาช่วย
ขณะที่ Prof. Dr. Makoto Taniguchi Prof. Makoto จากประเทศญี่ปุ่นได้แสดงผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และการใช้น้ำ พลังงาน อาหาร และที่ดิน ในประเทศญู่ปุ่น พบว่า ค่าการใช้ทรัพยากรดังกล่าวมีมากขึ้น จะส่งผลต่อความมั่นคงด้านน้ำที่ลดลง ทางออกของปัญหานี้ จะต้องฟื้นฟูแนวคิด ลดช่องว่างที่มีการใช้น้ำ พลังงาน และการผลิตอาหารในพื้นที่และโลกให้สอดคล้องกัน (nexus)และมีประสิทธิภาพทดีขึ้น การลดการใช้น้ำบาดาล ทำให้ลดการใช้พลังงาน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในเวลาเดียวกัน แนวโน้ม เราจะต้องสร้างให้เกิดตัวอย่างที่ดีในเรื่องธรรมาภิบาลทั้งในเรื่อง nexus และการจัดการข้ามพรมแดน (transboundary) เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ได้
และ Dr.Jim LaMoreaux จากสหรัฐ ได้ทบทวนบทความทางวิชาการในวารสารต่าง ๆในระยะหลังนี้ และชี้ให้เห็นแนวโน้มการวิจัยด้านน้ำใต้ดิน เป็นเรื่อง การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ (เช่นข้อมูลดาวเทียม ฯลฯ) เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อการจัดการแอ่งน้ำใต้ดินให้ทันกาล มีความร่วมมีอกันแลกเปลี่ยนข้อมูลในการจัดทำข้อตกลง และแลกเปลี่ยนตัวอย่างที่ดี และความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนในการอบรมข้ามศาสตร์นอกจากเรื่องน้ำใต้ดินอย่างเดียว มากขึ้น ซึงสะท้อนให้เห็นแนวโน้มต่อการจัดการน้ำใต้ดินของโลกจากนี้ไป ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น