ทางม้าลาย .. ในประเทศไทยยังใช้ได้จริงหรือ ?

ทางม้าลาย ..  ประเทศไทยไม่มีความปลอดภัยบนท้องถนนจริงหรือ ? จากกรณี บิ๊กไบค์ชน ‘ หมอกระต่าย ’ จนเสียชีวิต ...

ทางม้าลายในประเทศไทยยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ? ผู้ปกครองที่กำลังมีบุตรหลานวัยอนุบาล หรือ วัยประถมศึกษา กล้าหรือไม่ที่จะให้บุตรหลานข้ามทางม้าลายด้วยตัวเอง เมื่อก้าวเท้าแตะพื้นถนนตรงทางม้าลายเพื่อกำลังจะข้ามไปอีกฝั่งนั้น รถหยุดให้เราหรือเราต้องหยุดให้ บ่อยครั้งที่เกือบจะเอาหน้าเราเองไปซบบนพื้นถนน เพราะคิดว่าทางม้าลายนั้นปลอดภัย ไม่เพียงแต่พื้นที่ในเขตเมืองเท่านั้น แม้กระทั่งถนนในชุมชนเองก็มีความเสี่ยงของทางม้าลาย

จากข้อมูลจากงานสัมนาระดับชาติครั้งที่ 14 ในห้อง Ambulance Safety VS Share Responsibility ได้มีการแบ่งปันข้อมูลจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยหลายหน่วยงาน แต่ละจังหวัดมาร่วมเล่าปัญหาและการแก้ไข อย่างเช่น พื้นที่เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ทางม้าลายบริเวณหน้าโรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม เป็นถนนที่มุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยว จึงมีปริมาณรถเยอะในแต่ละวัน โดยพื้นที่มีทั้งวัด โรงเรียน 2 แห่ง อีกทั้งรวมเด็กทั้งสิ้น 2,000 กว่าคน และส่วนใหญ่เด็กใช้ทางม้าลายในการข้ามถนน โดยพฤติกรรมของผู้ใช้รถมักจะจอดทับทางม้าลาย เวลามีเด็กข้ามถนนจะไม่สนใจแม้ว่ามีเจ้าหน้าที่อยู่ก็ตาม ปัญหาเหลานี้เป็นหนึ่งของการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ปกครองและเด็กจึงเกิดความคิดในทางลบ และคิดว่าทางม้าลายไม่ปลอดภัยเวลาข้ามถนนเด็กๆต้องวิ่งข้าม เกิดเป็นวิถีปลูกฝั่ง ว่าการข้ามทางม้าลายต้องให้รถเป็นหลัก และกู้ภัยต้องไปเก็บเด็กนักเรียนบ่อยครั้ง วิถีการข้ามถนนและการใช้รถใช้ถนนในประเทศไทยหลายพื้นที่ยังเป็นเช่นนี้ ยิ่งในเขตตัวเมืองหรือบนถนนสายหลัก ที่มีทั้งรถบรรทุก รวมถึงรถที่สัญจรมาจากหลากหลายจังหวัด มักจะขับเร็วแม้มีป้ายเตือนความเร็วก็ตาม

การแก้ไขปัญหาทางม้าลายนี้ ปัจจุบันทางชุมชน โรงเรียน และเจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน ได้เสนอการแก้ไขปัญหาปริมาณรถเยอะและการจราจร ทั้งขอให้มีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกในเวลาเร่งด่วน ผลักดันเรื่องขอไฟกดสัญญาณข้ามทางม้าลาย รวมถึงขยับทางม้าลายไม่ให้ตรงกับบริเวณที่รถสวนมา และการพูดคุยกันในพื้นที่ระดับชุมชน อำเภอ และจังหวัด เรื่องอบรมการใช้รถใช้ถนนในผู้ขับขี่และคนเดินเท้า เพื่อเป็นการปลูกฝั่งและเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว

การจะหยุดหรือไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลาย ขึ้นอยู่กับอำนาจการตัดสินใจของคนใช้รถเท่านั้น ...

" ทางม้าลาย " ซึ่งหากท่านเสียเวลาสักนิดพิมพ์คำว่า " ที่มาของทางม้าลาย " ลงในเว็บเสิร์ชอย่างกูเกิ้ล ท่านก็จะได้รู้ (โดยอ่านจากข้อความที่มีคนเรียบเรียงไว้แล้ว) ว่า.. จริงๆ แล้วเจ้าสัญลักษณ์ของทางลายขาว-ดำ ที่มีไว้สำหรับให้คนข้ามถนน หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ' ทางม้าลาย ' นั้นแท้จริงแล้วในตอนแรกหาได้เป็นสีขาวกับสีดำอย่างที่เราเห็นในปัจจุบันไม่ เดิมทีแถบสีสัญลักษณ์ของทางคนข้ามนี้เคยเป็นสีน้ำเงินและสีเหลืองมาก่อน โดยมีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก (หลังทำการทอดลองใช้แล้ว) ตามท้องถนนของประเทศอังกฤษราว 1,000 จุด เมื่อปี 1949 เพื่อบ่งบอกให้ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบว่าบริเวณดังกล่าวเป็นทางที่อนุญาตให้คนสามารถข้ามถนนได้

แต่ก่อนนั้น สัญลักษณ์ของทางข้ามนี้จะอยู่คู่กับ ' เสาโคมไฟสัญญาณบีลิสชา ' (ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนหน้านี้แล้วตั้งแต่ปี 1934) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสัญญาณให้พาหนะที่สัญจรอยู่บนท้องถนนหยุดวิ่งชั่วขณะเพื่อให้คนที่อยู่สองข้างทางได้เดินข้ามถนนอย่างปลอดภัย โดยพาหนะต่างๆ จะหยุดก็ต่อเมื่อโคมไฟสัญญาณบีลิสชาซึ่งมีสีส้มส่องสว่างขึ้น ต่อมา " เลสลี ฮอร์น บีลิสชา " รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแดนผู้ดี(ประเทศอังกฤษ)สมัยนั้น ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มไอเดียนำโคมไฟสัญญาณดังกล่าวมาติดตั้งก็คิดว่าน่าจะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ที่เป็นแถบสีบนพื้นถนนบริเวณที่มีการติดตั้งโคมไฟสัญญาณเพื่อช่วยให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นได้เด่นชัดมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ สัญลักษณ์ของทางข้ามที่มีแถบสีจึงถือกำเนิดขึ้น จากนั้นก็มีการทดลองใช้สีขาว-แดง และสีขาว-ดำ ทาเป็นสัญลักษณ์ แล้วในปี 1951 สัญลักษณ์ของทางข้ามที่เป็นแถบสีขาว-ดำก็ถูกนำมาใช้คู่กับโคมไฟสัญญาณบีลิสชาอย่างเป็นทางการครั้งแรก พร้อมกับได้รับการขนานนามว่า ' ทางม้าลาย ' เนื่องจากมีลักษณะเหมือนลายของม้าลายนั่นเอง

ต่อมาอังกฤษได้นำไอเดียดังกล่าวไปใช้กับประเทศอาณานิคมของตัวเอง เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น ทางม้าลายจึงกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก และกลายเป็นเครื่องหมายจราจรที่เป็นสากลไปโดยปริยาย แต่ถึงแม้จะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ทว่าสำหรับในบ้านเราแล้วในบรรดาสัญลักษณ์เครื่องหมายที่เกี่ยวกับการจราจรนั้น ผมว่าทางม้าลายน่าจะติดอันดับการถูกหมางเมิน ละเมิด และไร้ค่าในระดับต้นๆ จากบรรดาผู้ที่ใช้ถนนทั้งหลาย จนกระทั่งหลายคนอาจจะคิดไปว่าเจ้าสีขาวหลายๆ แถบนี้มิได้มีอำนาจหรือบทบาทอะไรแต่อย่างใด


สำหรับประเทศไทย มีกฎหมายเกี่ยวกับทางม้าลายด้วยเช่นกัน กำหนดไว้ที่พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 กำหนดไว้อย่างชัดเจนเลยว่า ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้ในหรือทำให้ปรากฏในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบสัญญาณจราจรเครื่องหมายจราจรและความหมายของสัญญาณจราจร และเครื่องหมายจราจร

ส่วนโทษการฝ่าฝืนดังกล่าวเขียนไว้ชัดเจนว่า มาตรา 152 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท อีกเรื่องหนึ่ง หากผู้ขับขี่ห้ามจอดรถทับทางม้าลาย หรือในระยะ 3 เมตร ผิดกฎหมายตามมาตร 57 ลงโทษปรับไม่เกิน 500 บาท แม้ว่าโทษปรับจะไม่มาก แต่เราก็ควรจะปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดด้วยการหยุดจอดรถให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายไปก่อนก็จะเป็นการแสดงน้ำใจบนท้องถนนที่ดีทีเดียว

จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น ได้นำไปสู่การถกเถียงกันถึงความปลอดภัยบนท้องถนนที่คนไทยควรได้รับ เริ่มจากการหยิบ ‘ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 ’ ขึ้นมาพูดคุยกันว่า ตามกฎหมายแล้ว เป็นหน้าที่ของคนขับรถที่ต้องขับอย่างปลอดภัย และระมัดระวัง 

มาตรา 32 ของ พ.ร.บ.จราจรทางบอก เขียนเอาไว้ว่า “ ในการใช้ทางเดินรถผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัวเมื่อจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก คนชราหรือคนพิการที่กำลังใช้ทาง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการควบคุมรถของตน ” 

ส่วนมาตรา 46 บอกว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถแซงเพื่อขึ้นหน้ารถอื่น ภายในระยะสามสิบเมตรก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก วงเวียนหรือเกาะที่สร้างไว้ หรือทางเดินรถที่ตัดข้ามทางรถไฟ

มาตรา 70 บอกว่า การขับขี่ซึ่งขับรถเข้าใกล้ทางร่วมทางแยก ทางข้าม เส้นให้รถหยุด หรือวงเวียน ต้องลดความเร็ว หรือพูดง่ายๆ ว่า ถ้าต้องเข้าใกล้ทางม้าลายแล้ว คนขับก็ต้องลดความเร็วนั่นเอง

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้เคยมีการรณรงค์ให้ผู้ขับรถ หยุดรถให้คนข้ามถนนบนทางม้าลายมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง อดีตผู้บังคับการตำรวจจราจร เคยระบุว่า ไม่หยุดรถให้คนเดินเท้าข้ามในทางข้ามหรือทางม้าลาย มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

เพจ ทนายตัวแสบ : Badass Attorney โพสต์ให้ความเห็นถึงกรณีนี้ว่า “ เรื่องทางม้าลายเนี่ยตามกฎหมายมันต้องชะลอหยุดให้คนข้ามแหละ แต่บ้านเรามารยาทในการขับขี่สลับด้านกันมานานเห็นคนข้ามเร่งรถใส่ ขอไปก่อนมาดีขึ้นในช่วงปีหลังๆ ซึ่งเป็นเรื่องดีมากๆ แต่แน่นอนก็ยังมีคนเห็นแก่ตัวหรือประมาท  อยู่บ้างจนเป็นที่มาของการเกิดอุบัติเหตุ คดีนี้ ”

ขณะเดียวกันก็เริ่มมีคนเปิดประเด็นด้วยว่า ถ้าเกิดกรณีแบบนี้อีก แล้วคนกระทำผิดเป็นตำรวจก็ควรจะได้รับโทษที่มากกว่าปกติหรือไม่ ?

กรณีนี้ ยังนำไปสู่การแสดงความเห็นเปรียบเทียบกับจิตสำนึกของผู้คนในประเทศอื่นๆ ที่คนขับรถจะระมัดระวังคนข้ามถนนอยู่เสมอๆ และผู้คนมักจะเคารพกฎหมายเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการปกป้องสิทธิและความปลอดภัยของคนข้ามถนนบนทางม้าลาย จนทำให้ผู้คนสามารถข้ามถนนได้อย่างความสบายใจ


ขณะที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึงกรณีอุบัติเหตุดังกล่าว ระบุข้อความว่า..

...เมื่อ " ทางม้าลาย " ไม่มีความหมาย

คนเลวไม่แยแสกฎหมาย

คนบริสุทธิ์ต้องล้มตายรายแล้วรายเล่า

จะมี " ทางม้าลาย " ไว้ทำไม?...

...ถึงเวลาหรือยัง ที่เราต้องเรียกร้องให้มีการ " ปฏิรูปกฎหมาย " ทำทุกทางเพื่อบังคับให้หยุดรถก่อนถึงทางม้าลาย เพื่อปกป้องชีวิตทุกคนในสังคม

 




สำหรับประวัติ “ หมอกระต่าย  พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล  เกิดวันที่ 24 ม.ค. 2531 หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมต้นและปลาย ร.ร.สาธิตปทุมวัน และสอบเข้าเรียนได้ที่คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี รุ่นที่ 42 กลับไปใช้ทุนที่ รพ.สระบุรี แต่ด้วยความมุ่งมั่น จึงไปเรียนต่อเฉพาะทางจักษุวิทยา วัดไร่ขิง ต่อยอดจักษุวิทยาภูมิคุ้มกันอักเสบ และศึกษาต่อเฉพาะทาง ต่อยอดจอตาและวุ้นตา รพ.จุฬาลงกรณ์ ล่าสุด กำลังจะเข้ารับราชการที่ รพ.ตำรวจ ก่อนมาจบชีวิตด้วยวัย 33 ปี ซึ่งในวันนี้จะเป็นวันคล้ายวันเกิดหมอกระต่าย ...

#หมอกระต่าย ...

#นักกู้ชีพสื่อสารเพื่อความปลอดภัยทางถนน  ...

#RSN ...

#ROAD SAFETY NETWORK OF THAILAND ...



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...

3 หน่วยงาน ขานรับนโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) อย่างมีระบบ ...