วช. - มทร.พระนคร เดินหน้า “ ระบบ Smart Guide ” ที่สมุทรสงคราม ขานรับนโยบายท่องเที่ยวเมืองรอง ...
ที่วิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม / วันนี้ (18 พฤศจิกายน 2564) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยทีมนักวิจัยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร นำโดย ดร.นิตินันท์ ศรีสุวรรณ และคณะ ลงพื้นที่ต่อยอดผลผลิตงานวิจัย จากโครงการการพัฒนาเทคโนโลยีระบบไกด์อัจฉริยะในเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอาหาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดสมุทรสงคราม ชูเอกลักษณ์ด้านอาหารในแต่ละท้องถิ่นของจังหวัด พลิกฟื้นชุมชน และจังหวัด หลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 โดยใช้วิจัยและนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า.. วช.ในฐานะหน่วยงานบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม มุ่งสนับสนุนและขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์ประเด็นสำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ทั้งในมิติวิชาการ นโยบาย ชุมชนสังคม และพาณิชย์ สำหรับแผนงานวิจัย “ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง ” ที่ วช.ให้การสนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง เป็นการเชื่อมการใช้ประโยชน์ และหนุนเสริมการขยายผลงานวิจัยสู่การพัฒนาชุมชนการท่องเที่ยวจังหวัดเมืองรอง โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เข้ามามีผลกระทบ ทำให้ทราบว่า งานวิจัยและนวัตกรรม สามารถเข้ามาสนับสนุนและตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรและประชาชนได้เป็นอย่างดี นับเป็นการยกระดับและฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง
โครงการวิจัยนี้ต่อยอดมาจากโครงการในปีแรก (การพัฒนาสื่อดิจิทัล 3 ประเภท อาทิ แอปพลิเคชัน Go Samutsongkhram) โดยมีแนวคิดการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และสื่อดิจิทัล เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม ตามแผนงานการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรอง โดยตระหนักว่า จังหวัดสมุทรสงครามมีผลผลิตทางการเกษตร และอาหารที่มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายอย่าง สามารถนำมาพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในแนวคิด “ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ” ได้ ซึ่งครอบคลุมกับเศรษฐกิจอื่น ๆ อาทิ การเกษตร การประมง และการบริโภคสินค้าจังหวัด นักวิจัยได้ออกแบบเส้นทางอาหารที่น่าสนใจ พร้อมชุดข้อมูลอาหาร ถ่ายทอดเป็นเรื่องเล่า (Story telling) ช่วยเพิ่มมูลค่าอาหาร ประกอบด้วย 3 เส้นทาง คือ เส้นทางพืชผลทางการเกษตรแลชุมชนเกษตรท่องเที่ยว ที่ปรากฏผลิตผล อาทิ มะพร้าว, ส้มโอ, ลิ้นจี่พันธุ์ค่อม และ ใบชะครามจากนาเกลือ เส้นทางปลาทูและอาหารทะเลชายฝั่งของดีเมืองแม่กลอง อาทิ กะปิคลองโคน, หอยหลอด และสุดท้าย คือ เส้นทางขนมหวานเมืองสมุทร ที่ดึงจุดเด่นและเรื่องเล่าของขนมหวานที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าว ซึ่งทั้งสามเส้นทางล้วนสอดแทรกเอกลักษณ์ของจังหวัดสมุทรสงครามไว้ทั้งสิ้น
“ ในอนาคต ต้องการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลการท่องเที่ยวชุมชนสร้างสรรค์ และเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวเมืองรองเพิ่มมากขึ้น ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ในเขตภาคกลางตอนล่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งมีเอกลักษณ์แบบผสมผสาน ขณะนี้ระบบไกด์อัจฉริยะอยู่ในช่วงพัฒนาด้านเทคนิคให้สมบูรณ์พร้อมใช้ ส่วนชุดข้อมูลอาหารท่องเที่ยว ได้รวบรวมข้อมูลสำเร็จไปแล้วกว่า ร้อยละ 90 แม้จะวันหนึ่งโควิด-19จะหมดไปแล้ว แต่นวัตกรรมเหล่านี้ยังคงอยู่ และพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ สามารถเป็นต้นแบบของความเข้มแข็งในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวิถีเกษตรได้ ” ดร.นิตินันท์ กล่าวเสริม
เทคโนโลยีระบบไกด์อัจฉริยะ ภายใต้ชื่อ “ Samut Food smart guide by Rmutp ” ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเส้นทางการท่องเที่ยวในจังหวัดสมุทรสงคราม สามารถรับฟังคำบรรยายด้วยระบบเสียงและภาพ แบบ 3D ประกอบกับการใช้ ระบบ AR (Augmented Reality) เทคโนโลยีภาพเสมือนจริง ให้นักท่องเที่ยวสแกนผ่าน QR Code บนป้ายที่ติดตั้งตามจุดเส้นทางต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลอาหารที่มีชื่อเสียง ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนอีกจำนวนมากได้ ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น