วช. ผนึกกำลัง สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรม พัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนระดับปริญญาโทและเอก (ปี2564-2568) ระยะเวลา 5 ปี ...

 

ที่เวที Highlight Stage โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร / เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 ในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2564 (Thailand Research Expo 2021) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดพิธีแถลงข่าวความร่วมมือ การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม และบุคลากรการระดับปริญญาโทและปริญญาเอก วิจัยและนวัตกรรม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัคซีน ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) และ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) โดยมีรองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการและโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานและสักขีพยาน และกล่าวว่า ในนามตัวแทน อว.ขอบคุณทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชนร่วมมือกัน หลายสิ่งที่หวังว่าจะประสบความสำเร็จเชื่อว่าจะสำเร็จอย่างแน่นอนในการทำงานวิจัยให้ออกมาเป็นประโยชน์กับประชาชนจริงๆด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. วช. และ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ หรือ สวช. โดย นายแพทย์นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ(สวช.) ได้เห็นชอบร่วมกันในการสร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริม และสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม และบุคลากรการวิจัยและนวัตกรรมระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัคซีน การร่วมมือในครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องโควิด-19 ซึ่งสวช.มีบทบาทอย่างมากในการทำให้ประเทศไทยเดินหน้าก้าวพ้นวิกฤต โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สนับสนุนความร่วมมือในงานวิจัยและนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัคซีนกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ 2) พัฒนานักวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอก และสร้างความร่วมมือในงานวิจัยระหว่างหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา เพื่อความเข้มแข็งให้กับระบบวิจัยในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวัคซีนของประเทศในภาพรวม โดยใช้ประสบการณ์ของทั้ง วช.  สวช. และสถาบันการศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และ 3) เพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาเฉพาะด้านที่เป็นความต้องการของหน่วยงาน และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้โดยตรง โดยบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้เป็นการสนับสนุนทุนพัฒนาบุคลากรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกคุณภาพสูงที่อยู่ภายใต้ทุนพัฒนาเส้นทางอาชีพนักวิจัยของ วช. เป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2568 ซึ่งมีผลงานวิจัยคุณภาพในระดับสากล โดยอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองด้วยการสร้างความร่วมมืออย่างกว้างขวางของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง 


ดร.วิภารัตน์ ผอ.วช. กล่าวเพิ่มเติมว่า.. การทำงานจะเป็นเรื่องความร่วมมือของเครือข่ายหรือสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยวช.และสวช.ร่วมดำเนินการและพิจารณาหัวข้อวิจัย นักศึกษาผู้รับทุน สนับสนุนทุนวิจัย และการดำเนินงานวิจัยส่วนอื่นๆให้แก่นักศึกษาผู้รับทุนที่อยู่ภายใต้ทุนต่างๆ เช่น ทุนพัฒนาบัณฑิตศึกษา,ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) และ ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ส่วนกรอบงานจะดูเรื่องนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัคซีนและกำลังคนคือสถาบันอุดมศึกษาต่างๆทางสวช.จะเข้ามาเสริมเรื่องของค่าวิจัย โดยพิจารณาจากหัวข้อโครงการวิจัยและงบที่ได้รับในแต่ละปี ในปีนี้(2564)จะเริ่มต้นไว้จำนวน 5 ทุน โดยเบื้องต้นจะสนับสนุนทุนวิจัยในรูปแบบตัวเงิน(in cash) แต่ละปี


โดยทุนพัฒนาบัณฑิตศึกษาระดับปริญญาโท จำนวนไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท และปริญญาเอก ไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท ,ทุนโครงการพัฒนานักวิจัยแลงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม(ทุน พวอ.) ปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 100,000บาทต่อโครงการ ระยะเวลา 2 ปี ปริญญาเอก ไม่ต่ำกว่า 150,000 บาท ต่อโครงการระยะเวลา 3ปี และกรณีหลักสูตรระดับปริญญาโท ต่อเนื่องปริญญาเอก ไม่ต่ำกว่า 250,000 บาทระยะเวลา 5 ปีต่อโครงการ ,ส่วนทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก(ทุนคปก.) หลักสูตรระดับปริญญาเอกไม่ต่ำกว่า 150,000 บาทระยะเวลา 3 ปีต่อโครงการ ระดับปริญญาโทต่อเนื่องปริญญาเอก ไม่ต่ำว่า 250,000 บาท ระยะเวลา 5 ปีต่อโครงการ


ผอ.วช. กล่าวต่อว่า.. ในนามของ วช. ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สวช.ได้เห็นความสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพนักวิจัยในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มีความสามารถสูงในด้านวัคซีนต่อไปในอนาคตและจะเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศในการก้าวพ้นในภาวะวิกฤต ซึ่งวช.มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้กรอบความร่วมมือดังกล่าวประสบผลสำเร็จตามเจตนารมย์ที่วางไว้ทุกประการ

ด้าน นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (สวช.) กล่าวว่า.. สวช.ขอบคุณ วช.ที่ร่วมมือครั้งนี้และเป็นโอกาสสำคัญในการผนึกกำลังร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของประเทศ เพราะในช่วงวิกฤต โควิด-19 ที่ผ่านมาทำให้งานด้านวัคซีนทุกคนเห็นความสำคัญ ส่วน สวช.ภายใต้ พรบ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ เรากำหนดนิยามของคำว่าความมั่นคงด้านวัคซีนว่า “ ประเทศไทยต้องมีวัคซีนเพียงพอทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน ”  เพียงแค่นี้ก็มีความยากอยู่ว่าจะทำอย่างไรให้มีวัคซีนเพียงพอกับความต้องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคตลอดเวลา รวมถึงในภาวะฉุกเฉิน(กรณี โควิด-19) ทำอย่างไรที่เราจะสามารถวิจัยและผลิตวัคซีนเองได้อย่างทันท่วงที ซึ่งงานด้านวัคซีนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาสั่งสม บ่มเพาะและต้องปลูก ปัจจัยสำคัญคือกำลังคนของเรา ความสามารถ ความเชี่ยวชาญของบุคลากรด้านวัคซีน ประกอบกับงานด้านวัคซีนมีความกว้างขวางมาก ตั้งแต่ห้องปฏิบัติการ การวิจัยตัวเชื้อไวรัสที่มีขนาดเล็กมาก จนถึงสัตว์ทดลองและไปถึงการผลิตวัคซีนที่มีจำนวนมาก คือ 100-200 ล้านโดสต่อปี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ต้องการคนที่มีประสิทธิภาพทั้งสิ้น การพัฒนาคนตั้งแต่ต้นน้ำที่ สวช.ร่วมกับ วช. จึงเป็นจุดที่สำคัญอย่างยิ่ง ก่อนมีการถ่ายโอนภารกิจมาที่ วช. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)เดิมได้มีการทำเรื่องนี้มาแล้วเช่นกันตั้งแต่ปี 2558 จนมีการถ่ายโอน วช. ทั้งหมดคือการวางรากฐานสำคัญ ...



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...

3 หน่วยงาน ขานรับนโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) อย่างมีระบบ ...