ราชบัณฑิตยสภา จับมือ วช. หารือบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ร่วมจัดการประชุมวิชาการ “ น้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการวิจัย ” เนื่องในวันสหวิทยาการ ครั้งที่ 15 ...

ที่ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและ convention Center แจ้งวัฒนะ / เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ คณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา สำนักงานราชบัณฑิตยสภา จัดการประชุมวิชาการเนื่องในวันสหวิทยาการ ครั้งที่ 15 เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำผ่านการวิจัยแบบสหวิทยาการ : กรณีน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มอบหมายให้ นางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมการประชุมและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม และได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ยงยุทธ วัชรดุลย์  ประธานคณะกรรมการสหวิทยาการเพื่อการพัฒนา กล่าวรายงาน พร้อมด้วย ราชบัณฑิต ผู้บริหารหน่วยงาน  ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมการประชุม 

นางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมตามแผนงานสำคัญของประเทศ ในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และการผันแปรและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยในการอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยการวิจัยแบบสหวิทยาการ: กรณีน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับหน่วยงานผู้แทนหน่วยงานด้านทรัพยากรน้ำ อาทิ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร  

รองศาสตราจารย์ ดร.สุจริต คูณธนกูลวงศ์ ผู้อำนวยการแผนงาน (Program Director) แผนงานเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ววน. ในประเด็น “ น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง ” ใน 10 จังหวัด ของ วช. ได้ให้ข้อมูลการดำเนินงานของ วช. เกี่ยวกับงานวิจัยและนวัตกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ  โดยแบ่งนวัตกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เทคโนโลยี AI บริหารจัดการ 4 เขื่อนหลัก  เทคโนโลยี Sensor การจัดการน้ำในเขตชลประทาน เทคโนโลยี 3Rs ในภาคอุตสาหกรรมและบริการ เทคโนโลยี GIS เพื่อเก็บและสนับสนุนข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำในเชิงพื้นที่ ซึ่งได้มีการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปสู่การบริหารสถานการณ์น้ำท่วมน้ำแล้งในระดับพื้นที่ ใน 10 จังหวัดนำร่อง ได้แก่.. เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา น่าน ขอนแก่น ชัยภูมิ พัทลุง สงขลา กำแพงเพชร ภายใต้แผนงานเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ววน. ในประเด็น “ น้ำมั่นคง ไม่ท่วม ไม่แล้ง ” ใน 10 จังหวัด โดยใช้กลไกเครือข่ายมหาวิทยาลัยพื้นที่ในการดำเนินการบริหารจัดการน้ำของพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการจัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำระดับตำบล ระดับจังหวัด โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ (ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัด) ผ่านกลไกเครือข่าย เพื่อยกระดับการบริหารจัดการน้ำโดยหน่วยงานในพื้นที่ให้สามารถขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการน้ำที่ให้เกิดผลในการเสริมศักยภาพการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างต่อเนื่อง และมีข้อเสนอแนะว่าในระยะถัดไปจะต้องนำ ประเด็นด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเศรษฐกิจหมุนเวียนมาบูรณาร่วมกัน ซึ่งเป็น Package การทำงานในรูปแบบสหวิทยาการเพื่อให้เข้ากับแนวโน้มของโลก




พิธีเปิด กล่าวต้อนรับ : นางสาวเสาวนีย์ มุ่งสุจริตการ (รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ)

กล่าวรายงาน : ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ วัชรดุลย์ (ประธานกรรมการสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา)

กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ : นายแพทย์สุรพล อิสระไกรศีล (นายกราชบัณฑิตยสภา)

การอภิปรายทางวิชาการ : การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำด้วยการวิจัยแบบสหวิทยาการ กรณีน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี วิทยากร ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ วิศณุ ทรัพย์สมพล (รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร), นางสาวพัชวีณ์ สุวรรณณิก รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.), ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ (ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ผู้แทน กรมชลประทาน), นายฟาตา มรรษทวี (ผู้อำนวยการส่วนวิเคราะห์และพัฒนาระบบตรวจวัดแผ่นดินไหว รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนางานระบบพยากรณ์อุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา), รองศาสตราจารย์ ดร. สุจริต คูณธนกุลวงศ์ (ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานวิจัยแห่งชาติ) และ ศาสตราจารย์ ดร. วรเดช จันทศร (ราชบัณฑิต ประธานสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง วิทยาการ) ผู้ดำเนินการอภิปราย





ภาคบ่าย : การแบ่งกลุ่มอภิปราย (4 กลุ่ม)

1. สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง : การนำสหวิทยาการไปใช้ในการพัฒนาประเทศ

2. สำนักวิทยาศาสตร์ : สหวิทยาการเพื่อการติดตามและประเมินผลเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของประเทศไทย

3. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ตำนานและความเชื่อเกี่ยวกับน้ำและอุทกภัยในอดีตและปัจจุบัน หลากหลายมิติของวัฒนธรรม ศาสนา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

4. สหวิทยาการ : ตัวอย่างเค้าโครงการวิจัยแบบสหวิทยาการ เรื่อง โครงการกำหนดมาตรฐานสวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาลแห่งชาติ

การกำหนดนโยบายเป็นโครงการขนาดใหญ่ เกิดประโยชน์ในระยะยาวให้ครอบคลุมทั่วประเทศ การป้องกันน้ำท่วมในกรุงเทพที่เกิดขึ้น เช่น คลองบางบาล – บางไทร จะช่วยให้การระบายน้ำได้รวดเร็วขึ้น



ข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมประชุม :

จากปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดตามมาหลังน้ำท่วม 1-2 เดือน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นมีปริมาณน้ำจำนวนมากนั้น อาจจะเกิดจากการระบายน้ำโดยไม่มีการกักเก็บน้ำลงใต้ดิน การเก็บกักน้ำที่เกิดจากน้ำท่วมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดินและแหล่งเก็บน้ำขนาดเล็ก ห้วย หนอง คลอง บึง จะช่วยให้เกษตรกรมีน้ำใช้ได้อย่างยั่งยืน และช่วยเพิ่มระดับน้ำบาดาลให้สูงขึ้น

ควรส่งเสริมโครงการขนาดเล็กระดับครัวเรือนและชุมชนเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย เพิ่มคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และภัยแล้ง ฯลฯ เช่น ระบบธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดที่สามารถทำได้ง่ายๆในครัวเรือนและชุมชน ระบบฝายแกนดินซีเมนต์ช่วยชะลอกักเก็บน้ำตามแม่น้ำในลำห้วย คลอง เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง แม้บางพื้นที่อาจไม่เหมาะสมบ้าง แต่ในหลากหลายพื้นที่ในประเทศไทย ก็มีความเหมาะสมอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวและเป็นแนวทางที่คิดว่านี้มีประโยชน์มาก ฝากท่านผู้ที่กำหนดนโยบายช่วยพิจารณาในประเด็นนี้เพิ่มเติมอีกหนึ่งประเด็น


การประชุมฯ ในครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมมาตรการ เพื่อลดภัย ลดความเสี่ยง และบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนผ่านการวิจัยแบบสหวิทยากร ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...