มาทำความรู้จัก " 2 ทหารเรือ " กับ เสียงประวัติศาสตร ​์“ บทกาพย์เห่เรือ ” ใน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ...

หลายคนยังไม่ทราบว่า “ กาพย์เห่เรือ ” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค  ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เมื่อวันที่ 27 ต.ค. ที่ผ่านมานั้น

โดย กาพย์เห่เรือ ที่ใช้ในพระราชพิธีครั้งนี้ เป็นการประพันธ์ขึ้นใหม่ โดย พล.ร.ต.ทองย้อย แสงสินชัย เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญยิ่งของขบวนพยุหยาตราทางชลมารค นั้นคือ การให้จังหวะแก่ฝีพายให้พายตามจังหวะทำนอง เพื่อให้เรือแล่นไปอย่างพร้อมเพรียง และสวยงาม ที่เรียกว่า " การเห่เรือ "       

“ การแห่เรือ ”  มีวัตถุประสงค์ คือ การให้จังหวะแก่ฝีพายจำนวนมากในการพายเรือพระราชพิธี ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดความพร้อมเพรียงแล้ว ยังปลุกเร้าฝีพายให้มีพลัง ไม่เหน็ดเหนื่อยง่าย     

ส่วน “ คำประพันธ์ ” สำหรับใช้เป็นแบบอย่างของบทเห่เรือเก่าที่สุดที่เหลือเป็นหลักฐานสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือ กาพย์เห่เรือ บทพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ หรือ " เจ้าฟ้ากุ้ง " ในสมัยอยุธยาตอนปลาย 

ในสมัยรัตนโกสินทร์  ตั้งแต่ครั้งรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปรากฏหลักฐานการนำบทเห่เรือ ทั้งที่มีมาแต่เดิมและประพันธ์ขึ้นใหม่มาใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในการพระราชพิธีต่าง ๆ สืบมา

และ ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ประพันธ์โดย " พล.ร.ต.ทองย้อย แสงสินชัย " ประกอบด้วย 4 บท ได้แก่..  

• บทสรรเสริญพระบารมี 

• บทชนเรือกระบวน 

• บทบุญกฐิน 

และ 

• บทชมเมือง  

สำหรับการเห่เรือของไทย ปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สันนิษฐานว่า เดิมการเห่เรือน่าจะมีที่มาจากการให้จังหวะเพื่อให้การพายเรือเป็นไปอย่างพร้อมเพรียง ต่อมาจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นทำนองที่ชัดเจน ประกอบด้วย     

- ช้าลวะเห่ (ช้า-ละ-วะ-เห่) เป็นการเห่ที่มีการเอื้อนเป็นทำนองช้า ๆ ใช้ในการเห่เรือเมื่อพายเรือ ตามน้ำซึ่งไม่ต้องการจังหวะที่รวดเร็วมากนัก

- มูลเห่ (มูน-ละ-เห่) เป็นการเห่ที่มีทำนองเร็วกว่าช้าลวะเห่ ใช้ในการเห่เรือเมื่อพายเรือทวนน้ำ ซึ่งต้องการจังหวะฝีพายที่รวดเร็ว

- สวะเห่ (สะ-วะ-เห่) เป็นการเห่ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีความเก่าแก่ที่สุด ใช้ในการเห่เมื่อเรือพระที่นั่งจะเข้าเทียบท่า

สำหรับกำลังพลของกองทัพเรือที่เป็นผู้ขับบทประพันธ์เห่เรือในครั้งนี้คือ..

• พนักงานเห่เรือ คนที่ 1 ได้แก่.. ร.ท.สุราษฎร์  ฉิมนอก (เห่เกริ่น ช้าละวะเห่ มูลเห่ และบทที่ 1  บทสรรเสริญพระบารมี)

• พนักงานเห่เรือ คนที่ 2  ได้แก่.. พ.จ.อ.พูลศักดิ์  กลิ่นบัว (เห่บทบุญกฐิน บทชมเรือ / ส่วนหนึ่ง และจบด้วยสวะเห่ นำเรือเข้าเทียบ)

และถือเป็นครั้งแรกที่มีพนักงานเห่ 2 คน ได้ประจำอยู่ที่เรือ “ อนันตนาคราช ”

นอกจากนี้ “ กองทัพเรือ ” ได้จัดเตรียมพนักงานเห่ ไว้ 3 คน อีกคนหนึ่งเป็นพนักงานขานยาว อยู่ที่เรืออเนกชาติภุชงค์ โดย กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตไป 2 คน และ พระราชทานให้เป็น พนักงานเห่ ทั้ง 2 คน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่มีตัวตายตัวแทน ดังนั้น กองทัพเรือ จึงเห็นความสำคัญจึงต้องผลิต พนักงานเห่ ไว้เพื่อทดแทนกัน ...

#ดอก สามัคคี สี่เหล่า #ทัพหลวงนิวส์ #Thapluangnews #เดอะมิชชั่นไทม์ #ทัพหน้า - รายงาน ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...