“ พิพัฒน์ ” ปิดฉาก 2 เวทีประชันฝีมือระดับชาติ ย้ำแรงงานไทยมีศักยภาพ พร้อมรองรับเศรษฐกิจและการลงทุนในอนาคต ...

ที่ ห้องฟีนิกซ์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็คเมืองทองธานี จ.นนทบุรี / เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2568 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานพิธีปิดการแข่งขัน ฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 และ การแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 10 โดยย้ำว่า ประเทศไทยต้องพัฒนา “ ทักษะฝีมือของคน ” ให้เท่าทันกับเทคโนโลยีโลก และเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีปิด และ ชมการแข่งขันกว่าพันคน 

นายพิพัฒน์ กล่าวว่า.. ปัจจัยสำคัญของการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ไม่ได้อยู่ที่ต้นทุนแรงงานเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่คือคุณภาพของแรงงานไทยที่จะตอบโจทย์อุตสาหกรรมแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์อัตโนมัติ พลังงาน และการดูแลผู้สูงอายุ “เยาวชนที่ผ่านการแข่งขันครั้งนี้แสดงให้เห็นแล้วว่า คนไทยมีทักษะ มีศักยภาพ และพร้อมจะพัฒนาไปไกลกว่าขีดจำกัดเดิม ๆ 





การแข่งขันทั้งสองรายการจัดขึ้นโดย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เพื่อคัดเลือกตัวแทนทีมชาติไทยไปแข่งขันในระดับอาเซียน เอเชีย และนานาชาติ พร้อมเปิดเวทีให้คนพิการได้แสดงศักยภาพอย่างเท่าเทียม โดยในปีนี้มีผู้เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วประเทศรวมกว่า 480 คน




ผลการแข่งขัน : เหรียญทอง (ระดับประเทศ) การแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติ ครั้งที่ 30 จำนวน 27 สาขา

1. สาขาเมคคาทรอนิกส์ (ทีม) – นายธีรภัทร เตชะชมภูเวทย์ / นายปิยังกูร มารัศมี จ.ขอนแก่น 

2. การเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ - นายศุภกรณ์ จันทร์คูเมือง จ.นครราชสีมา

3. หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (ทีม) – นายจิตติภูมิ ภูมิประเสริฐ / นายคณุตม์ ตฤนานนท์ จ.ขอนแก่น

4. มาตรวิทยาด้านมิติ (ทีม) – นายณัฐวุฒิ ถึงมุสิก / นายณรงค์ศักดิ์ ทองรักขาว จ.พัทลุง

5. ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (ทีม) – นายภีรชาติ โตบัว / นายธนกร ทิพย์รักษ์ จ.ชลบุรี

6. การปูกระเบื้อง – นายธีรพงษ์ จันทรเอียด จ.สุราษฎร์ธานี

7. เทคโนโลยีระบบไฟฟ้าภายในอาคาร – นายอนุวัฒน์ บำขุนทด จ.ชลบุรี

8. การก่ออิฐ – นายศุภกฤต แสงรูป จ.ลพบุรี

9. ไม้เครื่องเรือน – นายธราเทพ แก้วมงคล จ.ชุมพร

10. การต่อประกอบมุมไม้ – นางสาวกัญญาวีร์ สุภาโชค กรุงเทพมหานคร 

11. เทคโนโลยีระบบทำความเย็น – นายนิทัศน์ ถนอมตน จ.ชลบุรี

12. เทคโนโลยีสารสนเทศ – นายธนพัฒน์ งามวงษ์ จ.ชลบุรี

13. เทคโนโลยีเว็บ – นายธีรเดช สุจินดากุล จ.ชลบุรี

14. การจัดดอกไม้ – นายณัฐวุฒิ จันทร์ศรี กรุงเทพมหานคร

15. แฟชั่นเทคโนโลยี – นางสาวอนุสรา เสริมมติวงศ์ จ.ลำพูน

16. กราฟิกดีไซน์ – นายณัฎฐากรณ์ หอมจิตต์ กรุงเทพมหานคร

17. เทคโนโลยียานยนต์ – นายปวเรศ โวหารลึก จ.ฉะเชิงเทรา

18. การบริการอาหารและเครื่องดื่ม – นางสาวพัชรมล ลิ่มทอง จ.เพชรบุรี

19. การแต่งผม – นายธันวา จิตพันธ์ กรุงเทพมหานคร

20. ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ทีม) – นายนันท์ธร จอมศิลป์ / นายกรวิชญ์ ในกระโทก

21. การสร้างโมเดลในเกมสามมิติ – นายเอกภพ สีทอน

22. การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย – นางสาวชญานิศวร์ ศรีสวัสดิ์เพ็ญ

23. เทคโนโลยีสีรถยนต์ – นายปวเรศ โวหารลึก จ.ฉะเชิงเทรา

     24. เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกลึง) - นายปิยังกูร สัจจะเวทะ จ.ลำพูน

     25. เครื่องจักรกล CNC (เครื่องกัด) - นายพันธกานต์ มาพะเนา จ.ลำพูน

     26. เทคโนโลยีงานเชื่อม - นายรัชชานนท์ ทิพฤาชา กรุงเทพมหานคร 

     27. การประกอบอาหาร - นายนครินทร์ จรูญพันธุ์วนิช กรุงเทพมหานคร

      สาขาสาธิตการแข่งขัน อุตสาหกรรม 4.0 (ทีม) - นายพีรณัฐ กุลจิรโรจน์ / นายศุภกิตติ์ เพ็งพาด จ.ชลบุรี




การแข่งขันฝีมือคนพิการแห่งชาติ ครั้งที่ 10 จำนวน 12 สาขา

1. การออกแบบเว็บเพจ – นายพุทธมนต์ พูลเปี่ยม โดย สพร.4 ราชบุรี

2. การออกแบบสิ่งพิมพ์ – นายวัลลภ ศรีอำพร ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ภาค 2 จังหวัดระยอง สพร.17 ระยอง

3. การถ่ายภาพในสตูดิโอ – นางสาวนิรันดร์รัตน์ ชูหอย สนพ.พังงา

4. การสานตะกร้า – นายธวัช แช่มขุนทด 

5. การตัดเย็บเสื้อผ้าบุรุษ – นางสำเภา แก้วบุญธรรม สพร.43 ตาก จัดส่งโดย สพร.8 นครสวรรค์

6. การวาดภาพระบายสี – นายสุวรรณ แซ่เฮ้อ สนพ.น่าน

      7. การถักโครเชต์ - นางสาวประนอม ธรรมสูงเนิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลผักปัง จ.ชัยภูมิ (สนพ.ชัยภูมิ)

      8. การเย็บปักถักร้อย - นางสาวชุติมา ศรีทราไชย สนพ.ยโสธร

      9. การถักนิตติ้ง - นางสาวจงรักษ์ ศิริวารินทร์ สนพ.ชัยนาท

      10. การพิมพ์เอกสารด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด - นายเธียร ทองลอย สพร.14 ปทุมธานี

      11. การออกแบบเพื่องานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ - นายณรงค์ จันตระกูล สพร.4 ราชบุรี

      12. การออกแบบโปสเตอร์ - นายจักรภพ พะตะวงศ์ สพร.16 นครปฐม

นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า.. เยาวชนที่ได้รับรางวัลเหรียญทองจะเข้าสู่กระบวนการ “ เก็บตัวฝึกซ้อม ” เพื่อพัฒนาทักษะให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยมีครูฝึกระดับชาติและผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมร่วมสนับสนุนอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งขันใน WorldSkills ASEAN Manila 2025 (การแข่งขันฝีมือเเรงงานอาเซียน ครั้งที่ 14) กำหนดจัดขึ้นเดือนสิงหาคม 2568 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ WorldSkills Asia Taipei 2025 (การเเข่งขันฝีมือเเรงงานเอเชีย ครั้งที่ 3) กำหนดจัดขึ้นเดือนพฤศจิกายน 2568 ณ ไทเป ไต้หวัน และ WorldSkills Shanghai 2026 (การเเข่งขันฝีมือเเรงงานนานาชาติ ครั้งที่ 48) กำหนดจัดขึ้นเดือนกันยายน 2569 ณ เมืองเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน


ในโอกาสนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ขอขอบคุณหน่วยงานผู้สนับสนุนหลัก ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรเพื่อคนพิการ ที่ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการแข่งขันอย่างยิ่งใหญ่ในปีนี้ อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมวิชาชีพ สถาบันอาชีวศึกษา บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ และ องค์กรด้านการส่งเสริมคนพิการ การแข่งขันครั้งนี้ไม่เพียงเป็นเวทีโชว์ฝีมือ แต่คือจุดเริ่มต้นของ “ แรงงานรุ่นใหม่ ” ที่พร้อมเป็นพลังสำคัญของเศรษฐกิจไทยในอนาคต


“ เด็กไทยไม่ได้มีดีแค่ความขยัน แต่วันนี้เรามีทักษะและความคิดสร้างสรรค์ที่แข่งขันได้กับนานาชาติ เราเห็นแล้วว่าทุกคนพร้อมจะก้าวสู่อนาคต ” อธิบดีเดชา กล่าว ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...