วช. ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS เปิดพื้นที่สำหรับเด็กรุ่นใหม่ ร่วมแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สนามที่ 1 ในงานวันนักประดิษฐ์ 2568 ...

ที่ เวทีกิจกรรมกลาง ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา / เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS จัดการแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ประจำปี 2568 สนามที่ 1 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวรายงานการแข่งขัน ภายในงานวันนักประดิษฐ์ 2568 (Thailand Inventors’ Day 2025) 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า.. วช. ภายใต้ อว. สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ สถานีโทรทัศน์ ThaiPBS และภาคีเครือข่าย ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ในการแข่งขันเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับได้ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีโอกาสพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม (Coding) และการควบคุมโดรนด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นอีกเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งหวังให้เยาวชนได้เรียนรู้และเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และการทำงานร่วมกันเป็นทีม อีกทั้งยังสร้างโอกาสและแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีต่อไปในอนาคต

นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า.. การแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ "รายการหนูน้อยจ้าวเวหา" เปิดเวทีให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพด้านเทคโนโลยีและทักษะการเขียนโปรแกรมควบคุมอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ STEM Education (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) โดยการแข่งขันประจำปี 2568 สนามที่ 1 นี้ มีนักกีฬาจากทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 80 ทีม ทำการแข่งขันใน 3 ประเภท ได้แก่ ปีกหมุนประลองปัญญา (ทิ้งสัมภาระ), ยุทธวิธี (การยิงลูกโป่ง) และปีกหมุนประลองทักษะ (ยิงลูกดอก)  





ทั้งนี้ ผู้ชนะเลิศการแข่งขันการแข่งขันเครื่องบินจำลองวิทยุบังคับรายการ “ หนูน้อยจ้าวเวหา ” ประจำปี 2568 สนามที่ 1 ประเภทปีกหมุนประลองปัญญา ได้แก่.. ทีมจะเป็นให้ได้เลย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน, ประเภทยุทธวิธี ได้แก่.. ทีมพระปฐมวิทยาลัยทีม B โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย และประเภทปีกหมุนประลองทักษะ ได้แก่.. ทีมตะโกราย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 

การแข่งขันเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างเวทีสำคัญในการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม สอดคล้องกับแนวทาง STEM Education และการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 เยาวชนได้เรียนรู้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเขียนโปรแกรม (Coding) ผ่านกิจกรรมที่ท้าทายและสนุกสนาน กิจกรรมนี้ไม่เพียงช่วยเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม แต่ยังสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออนาคต ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และศักยภาพของประเทศไทยในเวทีโลกต่อไป ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...