" ศาลรัฐธรรมนูญ " จัด " การประชุมทางวิชาการประจำปี เนื่องในโอกาส 26 ปี แห่งการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญ "

ที่ห้องอัศวินแกรนด์ B - C ชั้น 4 โรงแรม อัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ / เมื่อเวลา 09.00 น.วันพุธที่ 10 เมษายน 2567 ศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการประจำปี ในโอกาสครบรอบ 26 ปี แห่งการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญ หัวข้อ " ศาลรัฐธรรมนูญกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ " (The Constitutional Cour : Safeguarding the Constitution) โดยมี ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน, ประธานกรรมการการเลือกตั้ง, ประธานศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศพร้อมคณะ ได้แก่.. ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศจอร์เจีย รองประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศจอร์เจีย พร้อมด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ซึ่งท่านประธานในพิธี ได้มอบของที่ระลึกแก่ คณะประชุมฯ จากจอร์เจีย ก่อนถ่ายภาพร่วมกัน










ในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการประจำปี เนื่องในโอกาส 26 ปี แห่งการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญ หัวข้อ “ ศาลรัฐธรรมนูญกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ” (The Constitutional Court : Safeguarding the Constitution) โดยมีประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานศาลรัฐธรรมนูญต่างประเทศพร้อมคณะ ได้แก่.. ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศจอร์เจีย รองประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศจอร์เจีย พร้อมด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ 



ศาลรัฐธรรมนูญ ได้ก่อตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2541 จวบจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 26 ปี แล้ว ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ดำเนินภารกิจสำคัญในการสนองเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหลายด้านด้วยกัน อาทิ.. การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การดำรงหลักนิติธรรมของประเทศ การรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังปรากฏตามปณิธาน ที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ยึดถือต่อเนื่องมาว่า “ ยึดหลักนิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตย และห่วงใยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ” และในโอกาสที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ปณิธานมาอย่างต่อเนื่อง จึงจัดให้มี การประชุมทางวิชาการประจำปี เนื่องในโอกาส 26 ปี แห่งการสถาปนาศาลรัฐธรรมนูญขึ้น เพื่อเป็น การเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น ทางวิชาการเกี่ยวกับหลักปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมของต่างประเทศ รวมถึงเป็นการสานสัมพันธไมตรีในด้านต่าง ๆ กับองค์กรที่ได้ร่วมทำข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งภารกิจในการจัดโครงการครั้งนี้สอดคล้องกับภารกิจของศาลรัฐธรรมนูญในการส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญที่ว่า “ การเป็นสถาบันชั้นนำที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในระดับสากล ”







สำหรับกำหนดการประชุมทางวิชาการดังกล่าว มีดังนี้..

• เวลา 09.00 – 09.30 น. พิธีเปิดการประชุมทางวิชาการและปาฐกถาพิเศษ โดย ศาสตราจารย์ดร.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

• เวลา 09.30 – 10.45 น. ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ ศาลรัฐธรรมนูญกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ” โดย Prof. Dr.Merab Turava ประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศจอร์เจีย และ Ms. Manana Kobakhidze รองประธานศาลรัฐธรรมนูญแห่งประเทศจอร์เจีย

• เวลา 10.45 – 12.00 น. ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “ การพิทักษ์รัฐธรรมนูญและความยุติธรรมทางอาญาระหว่างประเทศ : ความท้าทายและพัฒนาการ ” โดย Associate Professor Dr. Giorgi Dgebuadze, รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ Ivane Javakhishvili Tbilisi State University.

• เวลา 13.00 – 16.30 น. การอภิปรายร่วมกัน หัวข้อ “ ศาลรัฐธรรมนูญกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ” โดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้แก่.. 

(1) ดร.ปัญญา อุดชาชน ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

(2) ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 

(3) นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา 

(4) รองศาสตราจารย์ ดร.ภูมิ มูลศิลป์ คณบดีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 

(5) รองศาสตราจารย์ ดร.มานิตย์ จุมปา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย นายบากบั่น บุญเลิศ รองประธานกรรมการบริหารบริษัท เนชั่น กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) 











โดยในปีนี้ เป็นโอกาสสำคัญที่ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในฐานะประธานสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ระหว่างปี 2566 – 2568 ได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมสมาคมศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าแห่งเอเชีย (AACC) ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 17 – 21 กันยายน 2567 ในหัวข้อหลัก “ The Constitutional Courts and Equivalent Institutions in Strengthening Constitutional Justice for Sustainable Society ” (ศาลรัฐธรรมนูญและสถาบันเทียบเท่าในการเสริมสร้างความยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญเพื่อสังคมที่ยั่งยืน) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals) ซึ่งทุกประเทศสมาชิกได้เริ่มดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2559 และมุ่งหวังที่จะสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ภายในปี 2579 


ตลอดระยะเวลา 26 ปีที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญตั้งมั่นในพันธกิจของศาลรัฐธรรมนูญในการรักษาความชอบธรรมของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ และความสมดุลของระบบการเมือง เพื่อธำรงไว้ซึ่งความถูกต้องและเป็นธรรมตามหลักนิติธรรมและสร้างบรรทัดฐานในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพให้แก่ประชาชน ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ จะยังคงสานต่อพันธกิจนี้สืบต่อไป ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’