เปิดตัวชีวภัณฑ์ “ ไตรโค 7 ” ป้องกันโรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน 24 รางวัลการันตี ...

นวัตกรรมชีวภัณฑ์ “ ไตรโคเซเว่น ” หรือ “ ไตรโค 7 ” เริ่มเปิดตัวบนโลกออนไลน์แล้ว ท่ามกลางการแข่งขันที่ร้อนระอุ ถูกเบียดเสียดแบบไม่มีที่จะยืน เพราะมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกมองว่าเหมือนกันหรือคล้ายกัน และเกษตรกรบางส่วนยังมองว่าชีวภัณฑ์ใช้ไม่ได้ผลจริง ไม่สามารถปราบโรคพืชได้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับยาปราบโรคพืชที่เป็นสารเคมีนำเข้ามาจากต่างประเทศ 

แต่กรณีของ “ ไตรโค 7 ” ซึ่งเป็นแบรนด์ชีวภัณฑ์น้องใหม่ที่กลายพันธุ์มาจากไตรโคเดอร์มาไฟฝ์พลัส (5+) ภายใต้การผลิตของศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีความเหมือนที่แตกต่างกับผลิตภัณฑ์ไตรโคเดอร์ม่าทั่วไป 

ทั้งในตัวของเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า สายพันธุ์ NST-009 ที่เป็นพระเอก และส่วนผสมที่เป็นตัวประกอบ ถือเป็นนวัตกรรมชีวภัณฑ์ที่มาจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และได้รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมจากการประกวดเวทีต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวม 24 รางวัล 

รศ.ดร.วาริน อินทนา อาจารย์ประจำสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร ในฐานะหัวหน้าหน่วยวิจัยพืชเขตร้อน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงที่มาของชีวภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นว่า.. ตนได้ค้นพบเชื้อราไตรโคเดอร์สายพันธุ์ท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ Trichoderma harzianum สายพันธุ์ NST-009 ซึ่งเชื้อราสายพันธุ์นี้แยกได้จากรากเฟิร์นมหาสดำบนเทือกเขาหลวง และผ่านการคัดเลือกจากกว่า 2,000 สายพันธุ์ทั่วภาคใต้ มีประสิทธิภาพสูงมากในการควบคุมโรคพืช โดยมีกลไกทำลายเชื้อราโรคพืชด้วยการกินเชื้อราโรคพืชเป็นอาหาร สร้างสารปฏิชีวนะได้หลายชนิด ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช และชักนำให้ต้นพืชสร้างภูมิคุ้มกันได้

นอกจากนี้ ยังมีข้อเด่นคือสามารถอาศัยในดินที่สะสมสารเคมีและดินที่มีความชื้นสูงได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่นๆ โดยจากการวิจัยมากว่า 7 ปี หน่วยวิจัยฯ พบว่า เชื้อราสายพันธุ์นี้ควบคุมโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน โรครากเน่าโคนเน่าพืชตระกูลส้ม โรคหน้ายางตายนึ่งและโรครากขาวยางพารา โรคเน่าระดับดินของพืชผัก โรคแอนแทรคโนสของพริก และโรคสำคัญของข้าว เป็นต้น 

นอกจากความโดดเด่นของเชื้อรา Trichoderma asperellum NST-009 ที่ถูกนำมาประกอบเป็นตัวตั้ง ให้กลายเป็นเสือตัวที่ 1 แล้ว ไตรโค 7 ยังมีเชื้อราตัวดีที่พร้อมทำหน้าที่ประสานพลังเข้าด้วยกัน  เสมือนเป็นการจับเสือ 3 ตัวให้มาอยู่ในซองเดียวกัน นั่นคือเสือตัวที่ 2 เชื้อรา Metarhizium anisopliae WU-003 ทำหน้าที่ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยเน้นกลุ่มด้วงและหนอนผีเสื้อ และเสือตัวที่ 3 เชื้อรา Beauveria bassiana WU-002 ทำหน้าที่ควบคุมแมลงศัตรูพืชโดยเน้นกลุ่มเพลี้ย ไรแดง และหนอนผีเสื้อ นอกจาก 3 เสือเชื้อราตัวดีนี้แล้ว ยังมีตัวประกอบร่วมด้วย นับเป็นตัวที่ 4 คือธาตุอาหารรองที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต (แคลเซียมและแมกนีเซียม) เสริมความแข็งแรงของผนังเซลล์พืช และเพิ่มศักยภาพกลไกของเซลล์พืชในการต่อสู้กับศัตรูพืช และตัวที่ 5 คือสารเสริมความแข็งแรงและกระตุ้นการงอกของสปอร์เชื้อราปฏิปักษ์ ทำให้สปอร์เชื้อราปฏิปักษ์ทั้ง 3 เสือ มีอัตราการงอกของสปอร์สูงขึ้น (ความมีชีวิตรอด) และลดระยะเวลาของการงอกของสปอร์ช้าลง

จากการทดสอบในแปลงปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ทั้งในแปลงทดลองและแปลงของเกษตรกร โดยศูนย์ผลิตและบริการชีวินทรีย์เกษตร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พบว่าสามารถควบคุมโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้ถึง 31 โรค นับว่าเป็นการระดมสรรพกำลังครั้งสำคัญของเชื้อราปฏิปักษ์ 3 เสือ เพื่อภารกิจพิชิตโรคพืช เช่น โรครากเน่าโคนเน่า โรคแอนแทรคโนส โรคเน่าระดับดิน โรคใบจุด และโรคใบไหม้ เป็นต้น สามารถใช้ได้ดีในพืช 14 ชนิด เช่น ทุเรียน พืชตระกูลส้ม ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว พืชผักต่าง ๆ และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้น ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้ 12 ชนิด เช่น ด้วงแรดมะพร้าว เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ไรแดง และหนอนผีเสื้อต่างๆ เป็นต้น และมีธาตุอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด

สิ่งสำคัญชีวภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นนี้ ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย ทั้งต่อผู้ใช้งาน ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมระดับสากลตามมาตรฐานองค์กร Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) โดยห้องปฏิบัติการมาตรฐาน Good Laboratory Practice (GLP) จากต่างประเทศ

ที่สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ทีมงานนักวิจัยคือ สามารถกวาดรางวัลมามากมาย ถึง 24 รางวัล เช่น ถ้วยรางวัลชนะเลิศและรางวัลเหรียญทองในการประกวด โครงการ “ Thailand New Gen Inventors Award 2020 ” (I-New Gen Award 2020) ที่จัดประกวดโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ รางวัลชนะเลิศ ประเภทนวัตกรรม/กระบวนการเชิงพาณิชย์ ในการประกวด RSP Innovation Award 2020 จากงาน RSP Innovation Day 2020 จัดโดยสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7 Innovation Awards ประเภท รางวัลนวัตกรรมประเภทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม จัดโดยซีพีออลล์ (เซเว่นอีเลฟเว่น) และภาคีเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานส่งเสริมนวัตกรรม ฯลฯ

ในเรื่องที่ว่าชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา ซึ่งมีจำนวนหลายแบรนด์ และเกษตรกรมักพูดว่าใช้ไม่ได้ผลบ้าง รศ.ดร.วาริน อินทนา ได้ให้สัมภาษณ์ในประเด็นนี้กับ “ ลุงพร เกษตรก้าวไกล ” และ “ ศุภชัย นิลวานิช ” ในฐานะผู้สร้างแบรนด์ไตรโค 7 ว่า “ จริงๆแล้วเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นตัวที่กำจัดเชื้อโรคสามารถควบคุมเชื้อโรคในกลุ่มของเชื้อราได้ โดยทั่วไปเขามีประสิทธิภาพสามารถกำจัดเชื้อโรคได้อยู่แล้ว แต่ที่บอกว่าไม่ได้ผลบ้าง เราได้ศึกษาวิจัยพบว่ามีปัญหาหลายอย่าง เช่น เกษตรกรไปเอาชีวภัณฑ์ที่มีการโฆษณาแต่มาศึกษาแล้วไม่มีตัวเชื้อราอยู่ในชีวภัณฑ์นั้นจริง หรือมีแต่ปริมาณไม่ได้มากพอที่จะไปควบคุมโรคได้ และนอกจากนี้ที่สำคัญสายพันธุ์ที่มีวางจำหน่ายทั่วๆไปอาจเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเวลาเกษตรกรนำมาใช้งานก็ไม่มีประสิทธิภาพและก็ไม่ได้ผลอย่างที่เกษตรกรพูดถึง คือก่อนที่จะใช้ชีวภัณฑ์ต้องหาแหล่งหรือว่าศึกษาแหล่งที่เชื่อถือได้ การันตีได้ เกษตรกรก็จะได้ตัวที่มีประสิทธิภาพสูงแล้วก็ประสบความสำเร็จในเรื่องของการควบคุมโรคพืช ”

สำหรับผลิตภัณฑ์ “ ไตรโค 7 ” ที่ผลิตขึ้นเป็นแบบผงสปอร์ บรรจุอยู่ในซอง 500 กรัม ใช้งานง่าย โดยผสมน้ำตามอัตราที่กำหนด พร้อมทั้งคนให้เข้ากัน ก่อนฉีดพ่นบนต้นพืชทั้งต้นที่ต้องการป้องกันความเสียหายจากศัตรูพืช และต้นที่เป็นโรค โดนแมลงศัตรูพืชเข้าทำลาย หรือต้นไม่สมบูรณ์เพราะขาดธาตุอาหาร แนะนำให้ฉีดพ่นให้ชุ่มทั่วต้นพืช และกรณีต้นทุเรียนที่เป็นโรคไฟทอปธอร่าที่มีแผลตามต้นให้ขูดแผลและทาให้ทั่ว ซึ่งจะมีรายละเอียดวิธีการใช้ที่ถูกต้องอยู่ด้านหลังซองอย่างชัดเจน

สนใจผลิตภัณฑ์ไตรโค 7 ทักไอดีไลน์ 0863185789 หรือโทร. 063279900 บริการส่งถึงบ้านทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อระบบออนไลน์ได้ที่ TikTok Shop https://vt.tiktok.com/ZSNsXPeW8/ และผู้ที่ซื้อไปใช้สามารถรีวิวหรือแนะนำผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ของตนเอง ซึ่งจะมีตะกร้าสินค้าให้ไปแขวนเพื่อสร้างรายได้อีกด้วย ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท. ร่วมมือกับ บขส. จัดรถนำเที่ยวฟรี 10 วัน โอกาสครั้งสำคัญ เปิดกรุ มรดกธรรมล้ำค่าแห่งยุครัตนโกสินทร์ เส้นทางเที่ยวชมโบราณวัตถุล้ำค่าที่หาดูได้ยากกับกิจกรรม “ เป็นบุญตา ครั้งหนึ่งในชีวิต ”

สมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย (TACCO) แถลงข่าวการจัดตั้งสมาคมการค้าโกโก้และช็อกโกแลตไทย พร้อมเปิดตัว งาน Thailand Craft Chocolate Fest’24 ...

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ .. 17 สภาองค์การนายจ้าง แสดงจุดยืนร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ...