วว. หารือ คณะผู้แทนจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ด้านความร่วมมือพัฒนาระบบราง และ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ...
ที่ วว.เทคโนธานี คลองห้า / วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) คณะนักวิชาการ ศทร. และดร.บุณณนิดา โสดา ผอ.กองวิเทศสัมพันธ์ ร่วมให้การต้อนรับ Ms. Hala Halawani, GM of Education Sector Development (Acting), Royal Commission for Riyadh City และ Dr.Hesham Adnan M Malak, Dean of the Institute of Innovation and Entrepreneurship, Umm al-Qura University ผู้แทนจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อศึกษาดูงานและหารือความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ในการนี้ ดร.อาณัติ หาทรัพย์ ผอ.ศทร. เป็นผู้แทน วว. นำเสนอภารกิจและการดำเนินงานด้านระบบราง รวมทั้งความร่วมมือที่ผ่านมาระหว่าง ศทร. และองค์กรระหว่างประเทศ พร้อมหารือถึงแนวทางและโอกาสในการร่วมมือกับประเทศซาอุดีอาระเบียในอนาคตอันใกล้ ในการนี้ ผอ.ศทร. ได้นำคณะฯ เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ ณ อาคารศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง ซึ่งสามารถสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบราง รวมถึงการฝึกอบรมและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในส่วนวิศวกรรมระบบราง เช่น วิศวกรและนักศึกษา คณาจารย์ รวมถึงผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนรถไฟ
นอกจากนี้ คณะผู้แทนจากประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังได้เยี่ยมชมภารกิจ ศูนย์บริการนวัตกรรมเครื่องสำอางแบบครบวงจร (Innovative Cosmetic Services Center : ICOS) ในสังกัดของ ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) ที่ให้บริการด้านการผลิตเครื่องสำอางแก่ผู้ประกอบการรายย่อย ได้แก่ SMEs, Startup และวิสาหกิจชุมชน อย่างครบวงจร เพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์ โดยมี นางสาวมณีรัตน์ จัตตุลาภา ผู้จัดการ ICOS และคณะนักวิจัย ศนส. ร่วมให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยและผลิตภัณฑ์ที่ วว. ให้บริการการผลิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ ศูนย์บริการนวัตกรรมเวชสำอางแบบครบวงจร วว. ให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ (High Performance) ได้แก่ เภสัชกร นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง พฤกษเคมีและชีวเภสัช โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (High Technology) เช่น เทคโนโลยีการสกัดที่ไม่ใช้สารเคมี ด้วยคลื่นไมโครเวฟ/อัลตราโซนิก เทคโนโลยีการกักเก็บสารสำคัญในระดับอุตสาหกรรม (Encapsulator Industrial scale) ระดับอุตสาหกรรม เทคโนโลยีการทดสอบในเนื้อเยื่อผิวหนังสามมิติ ( 3D Skin model) ตามมาตรฐาน OECD GLP/Asean Cosmetic GMP เป็นต้น ยิ่งขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการเดิมให้เข้มแข็ง ซึ่งความสำเร็จของประเทศคือความภาคภูมิใจขององค์กร วว. ในฐานะเป็นหน่วยงานวิจัยระดับชาติ ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น