สกสว. ผนึกกำลัง PMU ร่วมจัดทำ Impact Pathway มุ่งขับเคลื่อนงานวิจัย ตอบโจทย์แผน ววน. ของประเทศ ...

สกสว. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงานนโยบาย และหน่วยบริหารจัดการทุน จัดทำเส้นทางสู่ผลกระทบของงานวิจัย (Impact Pathway) สะท้อนการออกแบบแผนงานให้เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ มุ่งบรรลุเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objective Key Results: OKRs) ตามแผนด้าน ววน. ของประเทศ สู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน



ที่ โรงแรม Pullman Bangkok King Power กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2566, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ 9 หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU: Program Management Unit) 9 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.) หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ศลช.) พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การจัดทำ Impact Pathway ของแผนงานประจำปี 2567 ภายใต้แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ.2566-2570 โดยมีที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) ผู้ช่วยศาสตรจารย์ ดร.วีรสิทธิ์ สิทธิไตรย์ คุณวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ คุณนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา สกสว. คณะผู้บริหาร สกสว. ผู้บริหาร PMU และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว 

รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวถึงความสำคัญในการออกแบบ Impact Pathway ว่า.. เพื่อเป็นการส่งมอบผลลัพธ์ตาม OKRs ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปีที่ 5 (ปี พ.ศ. 2566-2570) นำไปสู่การออกแบบการทำงานแบบมีเป้าหมายรายปี ให้สามารถกำหนดงบประมาณที่ต้องการใช้จริงในแต่ละปีได้ ซึ่งจะทำให้คำของบประมาณมีความน่าเชื่อถือ เพราะได้เห็นถึงแนวทางการทำงานที่ออกแบบไว้แล้ว และหากงบประมาณถูกปรับลดก็สามารถปรับลดบางกิจกรรม ลดทอนค่าเป้าหมาย ขยายเวลาส่งมอบผลลัพธ์ได้อย่างเป็นระบบ หรือสามารถระบุได้ว่างบประมาณที่ถูกลดลงจะส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายของแผนงานอย่างไร นอกจากนี้ Impact Pathway ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เกิดความชัดเจนในการส่งมอบผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบต่อกองทุน ววน. 


สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสให้หน่วยบริหารและจัดการทุนได้รับทราบและทำความเข้าใจแนวคิด หลักการ การจัดทำ Impact Pathway ร่วมกับ สกสว. เพื่อให้ได้คำของบประมาณที่มีคุณภาพ สามารถนำส่งเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญตามแผนด้าน ววน. ของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้รับทราบและทำความเข้าใจภาพรวมเกี่ยวกับเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ เช่น การทบทวนและปรับปรุง OKRs, แนวทางการจัดทำ KR รายปี อีกทั้งยังได้จัดกิจกรรม Workshop ฝึกปฏิบัติการ ผ่านการแบ่งกลุ่มตามแผนงานย่อย 


ทั้งนี้ สกสว. มีพันธกิจในการจัดทำแผนด้าน ววน. รวมถึงการจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ให้มีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานนโยบาย และหน่วยบริหารจัดการทุน ซึ่งปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในการจัดทำและขับเคลื่อนแผนด้าน ววน. นั้น คือการทำงานร่วมกับ PMU ตลอดกระบวนการ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญตามแผนด้าน ววน. ในการขับเคลื่อนประเทศด้วยระบบวิทยาศาสตร วิจัยและนวัตกรรม ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“ ศิลปินนักพันผ้า ” หนึ่งเดียวในไทย “ โสภาส ณ ตะกั่วทุ่ง ” ผู้คิดค้นวิธีรักษาผืนผ้าไหมไทยทั้งผืนเอาไว้เพื่อคนรุ่นหลัง ...

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...