สกสว. ร่วมหารือ มรภ.รำไพพรรณี มุ่งผลิตงานวิจัยตอบโจทย์ประเทศ ชูงานวิจัยสร้างมูลค่าเพิ่มจากเปลือกทุเรียนเหลือทิ้ง สร้างรายได้แก่ชุมชน ...
เมื่อวันที่ 21 เม.ย. 66 ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง ผอ.กลุ่มภารกิจการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านสังคม สิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เข้าร่วมบรรยาย พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หารือเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัย ในโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิจัยสู่มืออาชีพ : การขับเคลื่อนการวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่สู่การใช้ประโยชน์ เป้าหมาย และทิศทางการสนับสนุนงานมูลฐานด้านวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประเภท Fundamental Fund (FF) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ผศ.ดร.แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง กล่าวถึง.. บทบาทของ สกสว. ในการบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) กับการหนุนเสริมการดำเนินงานของหน่วยงานในระบบ ววน. นโยบายและทิศทางการสนับสนุนงบประมาณที่แบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ 1) ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund: FF) สนับสนุนงานมูลฐานของสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบ ววน. เพื่อสร้างศักยภาพในการพัฒนา ววน. ให้มีความเข้มแข็ง สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานและตอบเป้าหมายของประเทศ และ 2) ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund: SF) จัดสรรงบประมาณตามแผนงานสำคัญและแผนงานย่อย บริหารจัดการโดย หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) ที่เน้นตอบยุทธศาสตร์และแผนด้าน ววน.ของประเทศ
โดยมีหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณ คือ ความสอดคล้องกับประเภทงบประมาณ รายละเอียดครบถ้วนไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงานหรือโครงการอื่น ความคุ้มค่าของผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ เทียบกับงบประมาณการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ รวมถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารจัดการ และความพร้อมศักยภาพของหน่วยงาน พร้อมทั้งแนะถึงแนวทางการพิจารณาคัดเลือกโครงการวิจัย ที่หน่วยงานควรใช้เกณฑ์เข้ามาช่วยในการพิจารณา เช่น ศักยภาพและต่อยอดสู่การวิจัยและพันธกิจของหน่วยงานในอนาคต การจัดลำดับความสำคัญโครงการวิจัย งบประมาณของโครงการที่มีความเหมาะสมและคุ้มค่า เป็นต้น นอกจากนี้ได้มีการหารือ แลกเปลี่ยนถึงประเด็นการจัดทำคำของบประมาณด้านวิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการขับเคลื่อนงานวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่สู่การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในอนาคตร่วมกับ รศ. ดร.นิรมล สุธรรมกิจ ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทั้งนี้ ร่างแผนพัฒนาภาค โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ระดับภาคของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ได้ระบุถึงทิศทางการพัฒนาภาคตะวันออก ปี 2566-2570 ให้เป็นฐานเศรษฐกิจสีเขียวชั้นนำของอาเซียน ควบคู่กับคุณภาพการดำรงชีวิตของประชาชนที่ดี E Direction: SHARE คือ “ S-curve Industrial Heartland ” พื้นที่ฐานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเป้าหมายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม “ High-tech Living Cities ” พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยและพักผ่อนที่ทันสมัยและน่าอยู่ “ Agro-tourism and Food Safety ” การท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่มีคุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ความยั่งยืน และการผลิตอาหารปลอดภัย “ Resilience of Natural Resources and Environment ” การฟื้นคืนสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความสมดุล และ “ Economic Linkage ” การเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ที่มีความสอดคล้องกับแนวทางการบูรณาการแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เชิงพื้นที่
ด้าน รศ.ดร.สุรีย์มาศ สุขกสิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี เปิดเผยถึง.. ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของสถาบัน ที่แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) การจัดการก่อนการวิจัย (ต้นน้ำ) 2) การจัดการระหว่างการวิจัย (กลางน้ำ) และ 3) การจัดการหลังการวิจัย (ปลายน้ำ) ที่จะมีการจัดสรรทุนวิจัยทั้งจากทุนภายใน และทุนจากหน่วยงานภายนอก เช่น สกสว. วช. เครือข่ายภาคตะวันออก ฯลฯ ที่มีการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก โดยทางมหาวิทยาลัยฯ ได้มีการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยอย่างต่อเนื่อง และค้นหานักวิจัยหน้าใหม่ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับประเด็นงานวิจัยที่ได้รับทุน พร้อมทั้งสนับสนุนการตีพิมพ์เผยแพร่เป็น 2 ประเภท คือ การประชุมวิชาการระดับชาติ “ รำไพพรรณี ” และ ทางวารสารวิจัยรำไพพรรณี โดยทางสถาบันจะเป็นหน่วยงานกลางในการประสานระหว่างหน่วยให้ทุน และนักวิจัย เพื่อการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
ขณะที่ ผศ.ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์ หัวหน้าแผนงานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากเปลือกทุเรียน และการวิจัยตลาดของผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนภาคตะวันออก เปิดเผยว่า.. การวิจัยนี้ดำเนินการโดยคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีหลากหลายสาขา และนักวิจัยจากภายนอก จากปัจจัยในพื้นที่ภาคตะวันออกโดยเฉพาะ จ.จันทบุรี, ระยอง และ ตราด เป็นพื้นที่ปลูกทุเรียน ซึ่งข้อมูลจากปี 2563 พบว่ามีเปลือกทุเรียนถึง 97,000 ตัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จึงเกิดเป็นแนวคิดที่จะนำเปลือกทุเรียนมาทำให้เกิดคุณค่า ผ่านการนำเสนอโครงการวิจัยจำนวน 7 โครงการ เพื่อให้สามารถพัฒนาและตอบโจทย์ชุมชนได้มากที่สุด นำมาสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มจากเปลือกทุเรียน ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ เครื่องใช้สอยจากกระดาษเยื่อเปลือกทุเรียน ถ่านอัดแท่งจากเปลือกทุเรียน และอาหารสัตว์น้ำที่มีส่วนผสมของใยอาหารจากเปลือกทุเรียน ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น