มจพ. จัดพิธีลงนามสัญญากับ ทม.น่าน และ ทต.เสลภูมิ อนุญาตให้ใช้สิทธิ “ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นั่ง ” รถรับส่งนักเรียน ...

ที่ห้องประชุม Cloud 9 ชั้น 9 สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ / เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 30 มีนาคม 2566 ศ.ดร.สมฤกษ์ จันทรอัมพร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ประธานพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพื่อการผลิตผลงานทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้โครงการส่งเสริมการนำสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัย พัฒนาสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม “ การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นั่ง ” ระหว่าง นายสุรพล เธียรสูตร นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน และ นายกิติพงศ์ พรหมชัยนันท์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วย รศ.ดร.กัมปนาท เทียนน้อย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, แพทย์หญิงชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ หัวหน้าโครงการขับเคลื่อนไทยสู่ผู้ใช้ จยย.ปลอดภัย และ รศ.ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม หัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินความปลอดภัยยานยนต์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     




สืบเนื่องจาก เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน และเทศบาลตำบลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีความประสงค์ขอใช้ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ ที่นั่ง ” เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมีศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นเจ้าของผลงานผู้ประดิษฐ์คิดค้น ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทุนวิจัยงบประมาณแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561 และได้รับการจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่สิทธิบัตร 76476 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมี รศ.ดร.สายประสิทธ์ เกิดนิยม และทีมงานงานวิจัยได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นั่ง เป็นรถรับส่งนักเรียนในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่พัฒนามาจากรถกระบะ หรือรถบรรทุกโดยสารหกล้อ  โดยที่นั่งจะมีลักษณะเป็นเก้าอี้ม้านั่งยาวโดยให้เด็กนั่งตามแนวยาวของตัวรถ รถดังกล่าวจะมีลักษณะสองแถวซึ่งจะมีเก้าอี้ม้านั่งส่วนใหญ่และจะทำมาจากโครงสร้างเหล็กโดยไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ลักษณะดังกล่าวจะไม่ปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุและมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น นวัตกรรมที่นั่งปลอดภัยสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับบริบทการใช้รถและลักษณะการนั่งตามยาวแบบเดิมจึงมีความสำคัญ นวัตกรรมที่นั่งดังกล่าวได้ถูกออกแบบและสร้างบนพื้นฐานของมาตรฐานสากล โดยใช้วัสดุที่สามารถจัดหาและผลิตได้ในอุตสาหกรรมท้องถิ่น นวัตกรรมดังกล่าวจะมีโครงสร้างฐานที่ยึดติดกับที่นั่งจะถูกนำไปติดตั้งบริเวณท้ายรถกระบะ หรือในรถบรรทุกโดยสารหกล้อ ส่วนที่นั่งจะถูกติดตั้งเข้ากับโครงสร้างฐานซึ่งสามารถติดตั้งได้จำนวน 5 ที่นั่งในกรณีของรถกระบะ หรือมากกว่า 5 ที่นั่ง ในกรณีรถบรรทุกโดยสารหกล้อ นวัตกรรมที่นั่งดังกล่าวสามารถรับแรงกระแทกทางด้านข้างกับด้านหน้าได้ตามมาตรฐานสากลซึ่งสามารถพับเก็บได้รวมทั้งปรับความสูงบริเวณพนักพิงได้ตามสัดส่วนความสูงของผู้โดยสาร อีกทั้ง ที่นั่งบริเวณศีรษะและสะโพกด้านข้างของผู้โดยสารจะถูกออกแบบให้เพื่อลดการบาดเจ็บกรณีที่มีการกระแทกเกิดขึ้นได้อีกด้วย 






สำหรับโครงการพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพื่อการผลิตผลงานทรัพย์สินทางปัญญาการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ ที่นั่ง ” ภายใต้โครงการส่งเสริมการนำสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสังคม ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ ที่นั่ง ” เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยมี ศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เป็นเจ้าของผลงาน






ผู้ประดิษฐ์คิดค้น ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากทุนวิจัยงบประมาณแผนบูรณาการพัฒนาศักยภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2561 และได้รับการจดขึ้นทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ เลขที่สิทธิบัตร 76476 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563




รถรับส่งนักเรียนในเขตพื้นที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่พัฒนามาจาก รถกระบะ หรือ รถบรรทุกโดยสารหกล้อ โดยที่นั่งจะมีลักษณะเป็นเก้าอี้ม้านั่งยาวโดยให้เด็กนั่งตามแนวยาวของตัวรถ รถดังกล่าวจะมีลักษณะสองแถว ซึ่งจะมีเก้าอี้ม้านั่งส่วนใหญ่และจะทำมาจากโครงสร้างเหล็กโดยไม่มีการติดตั้งเข็มขัดนิรภัย ลักษณะดังกล่าวจะไม่ปลอดภัยหากเกิดอุบัติเหตุและมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น นวัตกรรมที่นั่งปลอดภัยสำหรับเด็กที่สอดคล้องกับบริบทการใช้รถและลักษณะการนั่งตามยาวแบบเดิมจึงมีความสำคัญ นวัตกรรมที่นั่งดังกล่าวได้ถูกออกแบบและสร้างบนพื้นฐานของมาตรฐานสากล โดยใช้วัสดุที่สามารถจัดหาและผลิตได้ในอุตสาหกรรมท้องถิ่น นวัตกรรมดังกล่าวจะมีโครงสร้างฐานที่ยึดติดกับที่นั่งจะถูกนำไปติดตั้งบริเวณท้าย




รถกระบะ หรือใน รถบรรทุกโดยสารหกล้อ ส่วนที่นั่งจะถูกติดตั้งเข้ากับโครงสร้างฐานซึ่งสามารถติดตั้งได้จำนวน 5 ที่นั่งในกรณีของรถกระบะ หรือมากกว่า 5 ที่นั่งในกรณีรถบรรทุกโดยสารหกล้อ นวัตรกรรมที่นั่งดังกล่าวสามารถรับแรงกระแทกทางด้านข้างกับด้านหน้าได้ตามมาตรฐานสากลซึ่งสามารถพับเก็บได้รวมทั้งปรับความสูงบริเวณพนักพิงได้ตามสัดส่วนความสูงของผู้โดยสาร อีกทั้ง ที่นั่งบริเวณศีรษะและสะโพกด้านข้างของผู้โดยสารจะถูกออกแบบให้เพื่อลดการบาดเจ็บกรณีที่มีการกระแทกเกิดขึ้นได้อีกด้วย








ศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้รับการติดต่อประสานงานจาก แพทย์หญิงชไมพันธุ์ สันติกาญจน์ อดีตที่ปรึกษาด้านป้องกันการบาดเจ็บและภาวะพิการประจำองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ (Regional advisor WHO SEARO, Rrt.) มูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ เพื่อเชิญเข้าร่วมดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่ผู้ใช้จักรยานยนต์ปลอดภัย ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีการคัดเลือกชุมชน 2 ชุมชน ได้แก่ เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน และเทศบาลตำบลเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย 








การดำเนินงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าในการใช้รถสาธารณะที่ไม่ใช่รถจักรยานยนต์ ในการรับ - ส่ง เด็กนักเรียน โดยนำไปพัฒนากับชุมชนต้นแบบที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ ให้ใช้นวัตกรรมที่สามารถเพิ่มความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน “ ทางเลือก ที่ปลอดภัยกว่า สำหรับรถสาธารณะ สำหรับเด็ก (ในต่างจังหวัด หรือ กทม.) ”

การจัดพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพื่อการผลิตผลงานทรัพย์สินทางปัญญาการออกแบบผลิตภัณฑ์ “ ที่นั่ง ” ภายใต้โครงการส่งเสริมการนำสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยพัฒนาสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสังคมในครั้งนี้ นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงการได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือไปใช้ประโยชน์ได้จริง อีกทั้งยังสามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและสูญเสียชีวิตในการใช้รถใช้ถนนสังคมและบริบทของประเทศไทย และสามารถสร้างชุมชนต้นแบบที่เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับชุมชนที่สนใจได้ต่อไป ...

ขวัญฤทัย - ข่าว ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...

3 หน่วยงาน ขานรับนโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) อย่างมีระบบ ...