กรมสุขภาพจิต จับมือ ภาคีเครือข่ายสร้างเด็กและเยาวชนสู่ความเท่าเทียมกันในสังคม ร่วมรณรงค์สร้างความเข้าใจกลุ่มอาการดาวน์ ...
ที่ศาลาภิรมย์ภักดี สวนลุมพินี กทม. / เมื่อบ่ายวันนี้ (12 มีนาคม 2566) สถาบันราชานุกูล ร่วมมือกับ 6 ภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรม " 2023 Walk & Run for Down Syndrome " หรือ " เดิน-วิ่ง ไปกับ เราเพื่อเด็กกลุ่มอาการดาวน์ " ได้แก่ มูลนิธิ Five For All, มูลนิธิดาวน์ซินโดรมประเทศไทย, สมาคมผู้ปกครองบุคคลดาวน์ซินโดรมประเทศไทย, สมาคมกีฬาคนพิการทางปัญญาแห่งประเทศไทย, มูลนิธิคุ้มเกล้าเยาวชนคนสร้างชาติ และ กรุงเทพมหานคร โดยเชิญชวนครอบครัวเด็กกลุ่มอาการดาวน์ เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในสังคม ให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการเปิดโอกาสทางสังคมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่าง เท่าเทียมและมีความสุขโดยเป็นกิจกรรมการเดิน-วิ่งเป็นระยะทาง 1.5 กิโลเมตรพร้อมกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนศิลปินดาราร่วมสนับสนุน งานมากมาย สร้างความบันเทิงและขวัญกําลังใจแก่พ่อแม่ ผู้ปกครองเด็กกลุ่มอาการดาวน์กับบรรยากาศดนตรีในสวนและบูธกิจกรรมสาธิตการสร้างเสริมพัฒนาการเด็กแก่ผู้ร่วมงาน
แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า.. กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจาก ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 โดยพบว่าในหญิงตั้งครรภ์ 800-1,000 ราย มีโอกาสพบเด็กกลุ่มอาการดาวน์ 1 ราย ซึ่งในประเทศไทยมีเด็กดาวน์เกิดใหม่ ปีละประมาณ 1,150 ราย และเด็กกลุ่มอาการดาวน์ส่วนใหญ่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาและมีปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เนื่องจากความ พิการแต่กําเนิดของหัวใจ ระบบโลหิต ระบบทางเดินหายใจ การได้ยิน การมองเห็นและระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น การดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ จึงต้องได้รับการวางแผนระยะยาวโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทั้งครอบครัวสถานพยาบาลและสังคมทั้งในด้านการรักษาพยาบาลการเลี้ยงดูตลอดจน การกระตุ้นพัฒนาการในด้านต่างๆ
" ภาพความเข้าใจของสังคมเกี่ยวกับเด็กกลุ่มอาการดาวน์โดยส่วนใหญ่ยังเป็นภาพของเด็กกลุ่มที่ดูแลตัวเองไม่ได้และต้องได้รับการดูแลอย่างประคบประหงมตลอดชีวิต แต่อันที่จริงแล้วเด็กกลุ่มนี้ หากได้เข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขและได้รับการกระตุ้น พัฒนาการตั้งแต่แรกเริ่มจะพบว่าหลายรายที่ฉายแววความสามารถพิเศษด้านดนตรี ศิลปะ สามารถประกอบอาชีพ ตลอดจนสามารถดํารงชีวิตอย่าง อิสระด้วยตนเองได้ สถาบันราชานุกูล เป็นองค์กรหลักในการให้การดูแลเด็กกลุ่มอาการดาวน์ตั้งแต่อายุ 0-18 ปี ทั้งในรูปแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นระบบการดูแลเฉพาะทางตั้งแต่การกระตุ้นพัฒนาการและการฝึกการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจําวัน ตามวัย ฟื้นฟูทางด้านการศึกษาและอาชีพ ตลอดจนโครงการจ้างงานเพื่อฝึกทักษะในการประกอบอาชีพและยังเป็นเวทีในการเปิดโอกาสในเด็กกลุ่มอาการดาวน์ได้แสดงความสามารถพิเศษต่างๆ เพื่อเปลี่ยนภาพในอดีตไปเป็นมุมมองเชิงบวกต่อการรับรู้ถึงความสามารถที่เท่าเทียมบุคคลอื่นๆ ทั่วไป และสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาความสัมพันธ์ของครอบครัว สังคมและประเทศชาติได้อย่างน่าชื่นชม " แพทย์หญิงอัมพร กล่าว
ด้าน แพทย์หญิงนพวรรณ ศรีวงค์พานิช ผู้อํานวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า.. การจัดงานรณรงค์เนื่องในวันดาวน์ซินโดรมโลกในปีนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก คือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะดาวน์ซินโดรม ทั้งในระดับผู้ปกครอง บุคลากรทางการแพทย์ ครู รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทําให้ทุกภาคส่วนได้มองเห็นถึงศักยภาพของบุคคลที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมที่แม้จะมีข้อจํากัดด้านสุขภาพกายหลาย ประการ แต่เป็นหนึ่งในกลุ่มบุคคลที่เข้าถึงง่าย อารมณ์ดี และมีท่าทีที่เป็นมิตร หากได้เข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขตามที่ภาครัฐได้จัดสรรให้ และได้รับการศึกษาในระบบโรงเรียนด้วยการเรียนร่วมเพื่อฝึกทักษะทางสังคมตามวัยและสังคมปฏิบัติต่อบุคคลเหล่านี้อย่างเหมาะสมพร้อมเปิดโอกาส ให้บุคคลเหล่านี้ได้ใช้ชีวิตอิสระตามศักยภาพรวมทั้งได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ตลอดจนการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองจะทําให้ พวกเขาสามารถใช้ชีวิตและดูแลตนเองได้ และเป็นภาระต่อสังคมน้อยที่สุด และสังคมไทยจะเป็นสังคมที่เป็นมิตรต่อกันและน่าอยู่มากยิ่งขึ้น
งานวันดาวน์ซินโดรมโลก ที่จัดขึ้นในปีนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพด้วยกิจกรรม Run for Fun เพื่อให้สังคมได้มองเห็นว่าบคุคลกลุ่มอาการดาวน์ สามารถก้าวข้ามข้อจํากัดด้านภาวะสุขภาพ เพื่อทํากิจกรรมที่ส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ไปพร้อมกับความสนุกสนานและการสานสัมพันธ์ ระหว่างครอบครัวและบุคคลอื่นรวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น