สกสว. จัดประชุมสรุปผลจากการระดมสมอง 12 หน่วยงาน ภายใต้กระทรวง อว. ก่อนยื่นข้อเสนอโครงการเพื่อยกระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้ตอบโจทย์เป้าหมายของประเทศและสามารถเทียบเคียงระดับนานาชาติ ...

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดประชุมคณะทำงานผู้แทนหน่วยงานด้านกลยุทธ์และพัฒนาองค์กรในการขับเคลื่อนเพื่อการยกระดับองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ครั้งที่ 1/2566 โดยเชิญผู้บริหาร/ผู้แทนหน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยจำนวน 12 หน่วยงานที่สังกัดกระทรวง อว. ร่วมรับฟังผลสรุปและความเห็นจากการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันในหัวข้อ “ การขับเคลื่อนเพื่อการยกระดับองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ครั้งที่ 2 ” รวมถึงนโยบายและแนวทางการสนับสนุนทุนวิจัยของ บพค. ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์  2566 ณ โรงแรมแมนดารินกรุงเทพ (สามย่าน) 

รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ กล่าวว่า.. หน่วยงานวิจัยถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทาง สกสว. จึงได้เชิญผู้แทนหน่วยงานด้านกลยุทธ์และพัฒนาองค์กรจากสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังกัดกระทรวง อว. รวมถึงหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) ร่วมเป็นคณะทำงานชุดนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาและสนับสนุนข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา ทั้งทางด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ กำลังคนและความเชี่ยวชาญ ตลอดจนทำความเข้าใจและมีข้อตกลงร่วมกันในบทบาทหน้าที่และเป้าหมายสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่ละแห่งผ่าน 3 กลไกคือ (1) การทำงานร่วมกันในระดับผู้บริหาร  (2) ความร่วมมือและสนับสนุนข้อมูลในการออกแบบและพัฒนากลไกให้สถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถยกระดับให้เทียบเคียงกับระดับนานาชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ (3) การยกระดับองค์กรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ผ่านการสนับสนุนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund; SF) และการสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund; FF)  ซึ่งจะทำให้หน่วยงานสามารถยกระดับให้เกิดการพัฒนาประเทศได้  โดยการประชุมนี้จะเน้นการนำเสนอผลสรุปและรับฟังความเห็นจากที่ประชุมที่นำไปสู่เป้าหมายการยกระดับหน่วยงานให้เทียบเคียงกับหน่วยงานคู่เทียบในต่างประเทศ ให้หน่วยงานเห็นช่องว่างของการพัฒนา (Room of improvement)  และสามารถจัดทำข้อเสนอโครงการของหน่วยงานต่อไป 

ด้าน รศ.ดร.เริงชัย ตันสุชาติ หัวหน้าโครงการวิจัย “ โครงการขับเคลื่อนการรยกระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์เป้าหมายของประเทศและสามารถเทียบเคียงระดับนานาชาติ ” ได้สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมสมองร่วมกับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยจำนวน 12 แห่งที่สังกัดกระทรวง อว. พบว่า.. การจัดกลุ่มหน่วยงานแต่ละกลุ่มมีลำดับความสำคัญไปในแนวทางเดียวกันและได้นำแนวทางการพัฒนาที่ได้มาวิเคราะห์เพิ่มเติม เพื่อให้ตรงตามกรอบแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับสถาบันฯ ที่นำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ (Key result) ของแผนงานพัฒนาและยกระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ตอบโจทย์เป้าหมายของประเทศอย่างชัดเจนและสามารถเทียบเคียงนานาชาติ (P22)  ตัวอย่างเช่น แนวทางการยกระดับในกลุ่มหน่วยงานเฉพาะทางสารสนเทศและองค์การส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ การจัดตั้ง Academy Center ด้านการบริหารและจัดการน้ำที่เชื่อมโยงและเข้าถึงได้ในระดับพื้นที่ กลุ่มหน่วยงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครบวงจร เน้นแนวทางการยกระดับเพื่อปรับปรุงข้อมูลการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้าน ววน. แบบ open science การเพิ่มจำนวนห้องปฏิบัติการและสถานีวิจัยเพื่อการวิเคราะห์สำหรับงานวิจัยขั้นสูงและการยกระดับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการทำงานวิจัยร่วมกับองค์กรในต่างประเทศ การเตรียมความพร้อมในการยกระดับเป็นผู้ผลิตสารอ้างอิงมาตรฐานเพื่อให้ได้การรับรองตามมาตรฐาน ISO 17034 และการพัฒนามาตรฐานการวัดปฐมภูมิดิจิทัล เป็นต้น

เช่นเดียวกับ ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ที่ปรึกษากลุ่มภารกิจพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ดร.พสุ โลหารชุน ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ ให้ข้อคิดเห็น ว่า การยกระดับหน่วยงานให้เทียบเคียงกับหน่วยงานที่เป็นคู่เทียบ จำเป็นต้องเดินให้ถูกทาง ต้องปรับความต้องการ (need) ตามพันธกิจหน่วยงานให้ตรงกับความต้องการของประเทศให้ได้  ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคต และ การสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่เชื่อมต่อกับการทำงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  (สสว.) เพื่อให้กลุ่มผู้ประกอบการไทยเข้าถึงในด้านการทดสอบมาตรฐาน โดยมีกลไกการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ให้ภาคเอกชนสามารถขยับผลิตภาพการผลิตจากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 40 GDP ของประเทศ รวมถึงการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องในเรื่อง connecting skill set  เพื่อให้เข้าใจ pain point ของผู้ประกอบการ 

ขณะที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์  เศรษฐพรรค์  รองผู้อำนวยการ บพค. กล่าวถึงนโยบายและแนวทางการสนับสนุนแผนงานพัฒนาและยกระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ตอบโจทย์เป้าหมายของประเทศอย่างชัดเจนและสามารถเทียบเคียงระดับนานาชาติ ว่า ภายใต้แผนงานย่อยมีเป้าหมายเพื่อการยกระดับระบบนิเวศ ววน. สู่สากล (reinventing to excellence)  การเข้าถึงบริการ ววน. (Utilization) และกลไกภาคีเครือข่าย ววน. (Strengthen Network)  ซึ่งการเข้าถึงบริการ ววน. จะเชื่อมให้เกิดการเข้าถึงของผู้ประกอบการได้อย่างไร  บพค. จึงจะแบ่งการทำงานเป็น 4 ระยะด้วยกัน โดยในระยะแรกนี้จะเน้นการจัดลำดับความสำคัญโดยการวางแผนร่วมกัน การสร้างเครือข่ายร่วมกัน  หลังจากนี้จะเน้นการสร้าง Strategic Pilot โดยการใช้งานข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน  การให้บริการระดับชาติ (National facility) ที่นำไปสู่ Global facility โดยสร้าง Global excellence ในรูปแบบการใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น   

ในส่วนนี้ ดร.ณิรวัฒน์ ธรรมจักร์ ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สกสว. กล่าวเสริมและย้ำว่า.. การพัฒนาข้อเสนอโครงการที่แต่ละหน่วยงานเสนอในการประชุมระดมสมองในครั้งนี้ ขอให้หน่วยงานนำไปพัฒนาเพิ่มเติมให้เกิดความชัดเจนก่อน และเน้นย้ำว่าข้อเสนอโครงการที่หน่วยงานนำส่งมายัง บพค. นั้นจะต้องเป็นงานที่มีกลยุทธ์ที่สามารถส่งมอบผลลัพธ์สำคัญโดยใช้ตัวชี้วัด (Key result) ของแผนด้าน ววน. ปี พ.ศ.2566-2570 ในโปรแกรมที่ 22 เป็นตัวตั้งเพื่อให้ได้ผลในระยะ 5 ปีเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...

3 หน่วยงาน ขานรับนโยบาย กระตุ้นการท่องเที่ยว พร้อมอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) อย่างมีระบบ ...