วช. เปิดศูนย์ประสานงาน “ พิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ” จังหวัดแม่ฮ่องสอน ...
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประธานเปิดศูนย์ประสานงาน “ พิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ” กล่าวภายหลังการเยี่ยมชมศิลปวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอขุนยวม ว่า.. พิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นโครงการที่ วช. ให้การสนับสนุนนักวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ดำเนินการเป็นโครงการที่สร้างกลไกความยั่งยืนในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรม มายกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่นที่จะตอบโจทย์การพัฒนาด้วยการวิจัยและนวัตกรรม ในการหมุนเวียนนำผลิตภัณฑ์ในชุมชนมาช่วยเสริมและสร้างรายได้ให้กับประชาชน รวมถึงการที่ชุมชนมีสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี
บนพื้นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ผ่านการบูรณาการความร่วมมือกับท้องถิ่น เพื่อให้คณะผู้วิจัย และชุมชนได้เข้าถึงงานวิจัยและนวัตกรรม และสามารถนำไปใช้ได้จริง เชื่อมโยงพัฒนาการประกอบอาชีพ และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยเห็นว่าอำเภอขุนยวม อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีการพัฒนาประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมและศิลปะพื้นบ้านที่มีอัตลักษณ์บนความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การพิทักษ์รักษามรดกทางวัฒนธรรม สามารถพัฒนาสู่การเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่จะช่วยเสริมให้จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นดินแดนตะวันตกสู่เขตภาคเหนือและอาณาบริเวณใกล้เคียง ด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษา วัด โรงเรียน และชุมชน ในการส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม การดำเนินชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคประชาสังคม จะนำไปสู่กระบวนการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
นายสืบพงษ์ นิ่มพูลสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า.. ในฐานะตัวแทนพี่น้องประชาชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาร่วมพิธีเปิดศูนย์ประสาน งานพิพิธภัณฑ์เพื่อชีวิตขุนยวมในครั้งนี้ จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ไปเอาน้ำไหลยุคหลายสมัย มีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของพี่น้องชาวไทใหญ่ กะเหรี่ยง ม้ง และกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ ที่เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม อำเภอขุนยวมเป็นหนึ่งในพื้นที่ทางวัฒนธรรมและความหลากหลายของผู้คนอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้การวิจัยและความร่วมมือจากทางมหาวิทยาลัยทั้ง 3 สถาบัน โดยการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นจากกระบวนการเรียนรู้การลงมือปฎิบัติร่วมกันระหว่างคณะนักวิจัย วัด สถานการศึกษา เทศบาล และชุมชน สร้างความรัก ความหวงแหนในประเพณีและวิถีชีวิตของคนแม่ฮ่องสอนให้เกิดความยั่งยืนสืบต่อไป ซึ่งศูนย์ประสานงานแห่งนี้จะเป็นจุดของการประสานเครือข่ายความร่วมมือแห่งการพัฒนาหลากหลายมิติทั้งในอำเภอขุนยวมจังหวัดแม่ฮ่องสอนกับภายนอก
“ ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องอำเภอขุนยวม ที่มีสถาบันการศึกษาในภาคเหนือและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมอยู่เคียงข้างชุมชนและถือเป็นโอกาสอันดีในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม พัฒนาการศึกษา การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของชุมชน จากความร่วมมือในโครงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ” รอง ผวจ.แม่ฮ่องสอน กล่าว
ดร.สราวุธ รูปิน อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการฯ กล่าวว่า.. การทำวิจัยเรื่องขุนยวมพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ครอบคลุมทั้งประวัติชุมชน ภูมิทัศน์วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม หัตถกรรม ศิลปะพื้นบ้าน ประเพณี พีธีกรรม และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่ ได้นำมาสู่โครงการวิจัย “ การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ” ในปีที่ 2 ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อจัดทำแนวทางส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต และเศรษฐกิจชุมชน บนฐานแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของประเทศไทย โดยบูรณาการองค์ความรู้จากงานวิจัยไปดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการมีส่วนร่วมของสถาบันการอุดมศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตั้งเป้าหมายให้เกิดเป็นข้อเสนอแนะ และการจัดทำแผนขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ อปท. ในการเสริมสร้างการอนุรักษ์ พัฒนากายภาพ เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมกับบริบทของชุมชนอำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน
การดำเนินการได้จัดกิจกรรมปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้คณะครู และนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นด้านประวัติศาสตร์ชุมชน จำนวน 75 คน ร่วมกับ อปท. และกำนันผู้ใหญ่บ้าน อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ยังสร้างความรู้ความเข้าใจการจัดทำบัญชีรายการศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและสถาปัตยกรรม กระตุ้นให้พระภิกษุสงฆ์ และชุมชนเห็นสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาอันล้ำค่าที่มีอยู่ของ วัดมวยต่อ และ วัดคำใน พร้อมขยายเครือข่ายโครงการวิจัย และช่องทางการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างการรับรู้ที่ดี อันเป็นส่วนหนึ่งของแรงสนับสนุน โดยพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขุนยวม ตั้งอยู่ที่ตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดให้ชุมชนและประชาคมสังคมได้เข้ามาเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรม เก็บเกี่ยวอัตลักษณ์ท้องถิ่น และใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
งานวิจัยได้เดินหน้าส่งเสริมให้ อปท. ขับเคลื่อนการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ฯ ในระยะ 4 ปี พ.ศ.2565 – 2568 ร่วมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ จัดฝึกอบรมพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และสร้างมัคคุเทศก์ท้องถิ่น รวมทั้ง ผลักดันให้เกิดหลักสูตรต่าง ๆ ในโรงเรียน กว่า 4 หลักสูตร เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สืบสานภูมิปัญญาและอนุรักษ์ สร้างนิทรรศการหมุนเวียน และบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ขุนยวมให้มีชีวิตอย่างยั่งยืน ส่งต่อเป็นคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชนสืบไป ...
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น