“ เฉลิมชัย ” สั่งเร่งขยายผลเจาะตลาดฮาลาล มูลค่า 48 ล้านล้านบาท หลังประสบความสำเร็จในการเจรจาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กับ ยูเออี. และ ดูไบ ...

“ อลงกรณ์ ” ผนึกมืออาชีพทุกภาคส่วนจัดตั้งคณะทำงานฮาลาลไทยแลนด์(Thailand Halal Taskforce )ทันที โฟกัสตลาดกลุ่มมุสลิม 2 พันล้านคน เตรียมคิกออฟโครงการระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลภาคใต้ ภายในปีนี้เริ่มจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์หลังซาอุฯ ไฟเขียว นำเข้าไก่ไทย

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน ฮาลาลเปิดเผยวันนี้ (25มี.ค) ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ ฮาลาล ” ครั้งที่ 2/2565 ว่า.. ที่ประชุมมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานฮาลาลไทยแลนด์ (Thailand Halal Taskforce) มีหน้าที่เร่งรัดการขยายความร่วมมือด้านการลงทุนและการค้าสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานฮาลาล ซึ่งมีมูลค่าตลาดกว่า 30 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเพื่อขับเคลื่อนขยายผลตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ ที่ประสบความสำเร็จในการเจรจาขยายความร่วมมือกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(UAE) และ ดูไบ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการเปิดศักราชหน้าใหม่ของความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าการลงทุนระหว่างกันจึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับประเทศไทยซึ่งมีศักยภาพการผลิตและส่งออกอาหารอันดับ 13 ของโลก จะต้องเร่งเจาะตลาดประชากรมุสลิม2พันล้านคนรวมทั้งการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมกษตรและอาหารฮาลาลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศโดยคณะทำงานชุดนี้จะเดินหน้าขยายความร่วมมือในทุกมิติทางเศรษฐกิจรวมทั้งเร่งดำเนินการโครงการการลงทุนเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรฮาลาลใน 5 จังหวัดภาคใต้ คือ ยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี, สตูล และ สงขลา ที่ได้วางงานไว้ก่อนหน้านี้ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลภาคใต้ โดยจะเริ่มจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์และเกษตรพลังงาน โดยเฉพาะกรณีที่กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการจนซาอุดีอาระเบีย ยกเลิกการห้ามนำเข้าไก่แปรรูปจากไทยและรัฐบาล โดยนายกรัฐมนตรีสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์กับซาอุดีอาระเบียกลับสู่ภาวะปกติได้สำเร็จ


ในขณะที่วันนี้ประเทศไทยมีความร่วมมืออย่างดียิ่งเรื่องมาตรฐานฮาลาลกับ กลุ่มประเทศอาหรับ(OAC), กลุ่มประเทศรอบอ่าวเปอร์เซีย (GCC), กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง, กลุ่มประเทศอาเซียน, กลุ่มประเทศเอเซียกลางและกลุ่มประเทศแอฟริกา โดยคณะทำงานชุดนี้ประกอบไปด้วย ภาคเอกชน คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย, ศูนย์AIC สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันอาหาร สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม, สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, หอการค้าไทยและ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, สสปน. โดยภาครัฐมีกระทรวงเกษตรและกระทรวงพาณิชย์เป็นแกนนำร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงอุตสาหกรรมโดยทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต ทำได้ไวทำได้จริงของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์ แผนปฏิบัติการฮาลาล (Thailand Halal Blueprint) ซึ่งได้วางโครงการแผนงานและคำของบประมาณสนับสนุนไปก่อนหน้านี้แล้วและเนื่องจากเป็นวาระเร่งด่วนจึงจำเป็นที่จะต้องขอการสนับสนุนจากงบกลางหรืองบเหลือจ่ายของงบประมาณประจำปี2565เพื่อขับเคลื่อนงานได้รวดเร็วขึ้น

  

นายอลงกรณ์ กล่าวว่า.. จากการวิจัยตลาดฮาลาลมีรายงานว่าในปี 2020 ตลาดอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลทั่วโลก มีมูลค่า 1,533,280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (48ล้านล้านบาท) และ ประเมินว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2,285,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 71 ล้านล้านบาท) ในปี 2026 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 20% คิดเป็นมูลค่าเพิ่มปีละ 560 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (16.8 ล้านล้านบาท)ซึ่งเป็นตลาดใหม่ที่จะสามารถเพิ่มการส่งออกสร้างงานสร้างอาชีพใหม่ๆ สำหรับเกษตรกรและผู้ประกอบการของไทยในยุคโควิด-19

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบภารกิจในการเดินทางไปเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กับดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ.ใน 5 ประเด็นสำคัญ คือ 1) AIPHคัดเลือกประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก ปี พ.ศ.2569 2) การเจรจาขยายความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนสินค้าเกษตรและอาหาร และระบบรับรองมาตรฐานฮาลาลทั้งนี้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ผลิตอาหารได้เพียง 20% ต้องนำเข้า 80% และ สนใจที่จะร่วมลงทุนกับประเทศไทยในด้านการเกษตร 3) การตรวจเยี่ยมงานแสดงนิทรรศการระดับโลกของประเทศไทยแสดงศักยภาพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลในมิติต่างๆรวมถึงสินค้าเกษตรและอาหารของไทยในงาน World Expo 2020 Dubai 4) เยี่ยมชม Museum of the Future' พิพิธภัณฑ์แห่งอนาคต ที่สื่อให้ประชาชนทั่วโลกได้ทราบถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีก 50 ปีข้างหน้า 5) ความร่วมมือด้านโลจิสติกส์กับบริษัทDP Worldของรัฐดูไบและการส่งเสริมการค้ามาตรฐานฮาลาลกับศูนย์ส่งเสริมการค้าและการตลาดฮาลาลของยูเออีและดูไบ

     
พร้อมทั้ง รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการล่าสุดของคณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 4 คณะ คือ 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์และนโยบายการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐานฮาลาลประเด็นความคืบหน้าของแผนปฏิบัติการฮาลาล(Thailand Halal Blueprint) 2) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการค้าสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” ได้กำหนดแผนการดำเนินงานในปี 2565 มุ่งเน้นส่งเสริมสินค้าจากประเทศไทยสู่ตลาดจีน และประเทศในแถบเอเชียกลาง ในงาน China International Import Expo (CIIE) และ งาน SIAL China 3) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิตและการลงทุนเกี่ยวกับสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ ฮาลาล ” รายงานความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนโครงการต้นน้ำ และปลายน้ำ ของโครงการต้นแบบเกษตรฯ อุตสาหกรรมฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ Halal Sustainable Economy และ โครงการพัฒนาอาหารปลอดภัย KU Safe Market และ  4) คณะอนุกรรมการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน  “ ฮาลาล ” ในพื้นที่ชายแดนใต้ เตรียมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยแนวทางการส่งเสริมเกษตรฐานรากเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไก่แบบครบวงจรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเดือนมีนาคม 2565 นี้ 

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังรับทราบรายงานสถานการณ์แก้ไขปัญหาเนื้อวัวปลอมปนเนื้อสุกร ซึ่งได้กำหนด 5 มาตรการเร่งด่วน ได้แก่ มาตรการสื่อสารเตือนภัยผู้บริโภค มาตรการป้องปรามผู้ค้า, มาตรการปราบปรามผู้กระทำผิด, มาตรการส่งเสริมมาตรฐานฮาลาล และ มาตรการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) จากโรงฆ่าสัตว์ถึงผู้บริโภค นอกจากนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ซึ่งจากการตรวจสอบในปีงบประมาณครั้งล่าสุด มีการเก็บตัวอย่างไปแล้ว 70 ตัวอย่าง ซึ่งยังไม่พบเนื้อสุกรปลอมปนเนื้อวัว อย่างไรก็ตามกรมปศุสัตว์ยังคงเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

นายอลงกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า.. ได้มอบหมายให้ สำนักการเกษตรต่างประเทศ สรุปผลการเจรจาหารือขยายความร่วมมือด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุนสินค้าเกษตรและอาหารในคราวเดินทางไปเยือน UAE และ ดูไบ พร้อมทั้งมอบฝ่ายเลขานุการฯ ให้รวบรวมสรุปข้อมูลระบบรับรองมาตรฐานฮาลาลที่มีในแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลจากประเทศใดบ้าง และ นำเสนอต่อที่ประชุมในครั้งต่อไป

สำหรับการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ ฮาลาล ” ครั้งที่ 2/2565 เมื่อ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meeting มีผู้เข้าประชุม ประกอบด้วย รศ.ดร.วินัย  ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, รศ.ดร.ปกรณ์  ปรียากร ผู้อำนวยการสถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่งประเทศไทย, นายชยดิฐ  หุตานุวัชร์ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุนฮาลาล, คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, สถาบันฮาลาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ศูนย์AICจังหวัดสงขลา), สถาบันอาหาร สมาคมการค้านักธุรกิจไทยมุสลิม, สมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ, ศอ.บต., สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงพาณิชย์, สนปน. และ  หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมประชุม โดยมี นางสาวรวินันท์ ฉ่ำเฉลิม ผู้อำนวยการกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่เลขานุการการประชุม ...

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

“ ศิลปินนักพันผ้า ” หนึ่งเดียวในไทย “ โสภาส ณ ตะกั่วทุ่ง ” ผู้คิดค้นวิธีรักษาผืนผ้าไหมไทยทั้งผืนเอาไว้เพื่อคนรุ่นหลัง ...

CP LAND ผนึกกำลังครั้งยิ่งใหญ่กับ 17 พันธมิตร อัดแคมเปญแรงส่งท้ายปี ‘ สิงโต นำโปร ’

CP LAND ปรับแผนสื่อสารเจาะนิวเจน พบถูกพูดถึงในโลกออนไลน์ ติดชาร์ตอันดับ 2 จากผลสำรวจของ Zanroo ...